จรรยา เล็ก ยิ้มประเสริฐ
* * * * * * * *
ประวัติการทำงานโดยสังเขป2532
- จบการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิต (สังคมศาสตร์การพัฒนา) มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ช่วยวิจัยเรื่องผลกระทบของการท่องเที่ยวที่เกาะสมุย
2533
- ทุนไปศึกษาดูงานที่ออสเตรเลีย
- ศูนย์แรงงานอพยพ ช่วยเหลือแรงงานไทยและแรงงานเอเชียร้องเรียนเรื่องสิทธิและค่าเสียหาย ฮ่องกง
2535
- องค์กรกลาง
- ศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
2536
- วิจัยเรื่องคนงานไทยในสิงคโปร์
- องค์กรอาสาสมัครแคนาดา (CUSO) ทำงานด้านประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนและงานส่งเสริมบทบาทหญิงชาย
2538
- Focus on the Global South (โครงการศึกษาแบะปฏิบัติการงานพัฒนา)
2540 -2542
- อาสาสมัครช่วยงานสมัชชาคนจนและกลุ่มเพื่อนประชาชน
- ประสานงานสัมมนา ผู้หญิงชาวนาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุงเทพ
2542
- ผู้ประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนรีบอค (4 เดือน)
- รายงาน “จรรยาบรรณด้านแรงงานของบรรษัทข้ามชาติจะสามารถส่งเสริมสิทธิแรงงานได้จริงหรือไม่?
2544 ก่อตั้งโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจนถึงเดือนมิถุนายน 2553
2004
- มกราคม World Social Forum, Mumbai, อินเดีย
- พฤษภาคม People Global Action, Dhaka, บังคลาเทศ
- สิงหาคม โอลิมปิกคนงานเอเชีย กรุงเทพฯ
2548
- People Global Action, ฮาริดวาร์, อินเดีย
- บริษัท Publicis ฟ้องร้องจรรยา ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากการช่วยเหลือคนงานบริษัทที่เมืองไทยเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกเลิก จ้างไม่เป็นธรรม บริษัทถอนฟ้องหลังจากถูกขบวนการแรงงานสากลรณรงค์ประท้วง
2549
- ประสานเวทีสมานฉันท์โลกใต้กับโลกใต้ที่งานภาคประชาสังคมโลก ไนโรบี เคนยา
- การสัมนานานาชาติของเครือข่ายแรงงานทั่วโลก ลิม่า เปรู
- ธันวาคม ย้ายไปอยู่เชียงใหม่และเริ่มสร้างโครงการ “การพึ่งตนเองด้วยวิถีออแกนิกส์ที่ไร่เปิดใจ” อ. แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
2550 ร่วมก่อตั้งเครื่อข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการไปทำงานต่างประเทศ
2552
- มีนาคม - กรกฎาคม เดินสายประชุมและนำเสนอปัญหาแรงงานไทยที่ยุโรป 7 ประเทศ
ธันวาคม ร่วมประกาศจัดตั้ง สหภาพคนทำงานต่างประเทศ
นับตั้งแต่ปี 2553 ประสานกิจกรรม ACT4DEM แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย และสหภาพคนทำงานต่างประเทศ เพื่อศึกษาเรื่องปัญหาแรงงานไทยในยุโรป
ปัจจุบันนั่งทำงานเขียนหนังสือ บทความ ผลิตสื่อการศึกษา และรณรงค์เพื่อสิทธิแรงงานและเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทยอยู่ประเทศฟินแลนด์
มาสเตอร์ทอย: 72 ปีแห่งการต่อสู้บนท้องถนน(2544)
คู่มือสหภาพแรงงานของไอยูเอฟ (2544)
เพื่อเป็นคู่มือการดำเนินงานสหภาพที่เป็นประชาธิปไตย ทั้งนี้หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงหลักการ การบริหาร การเก็บค่าสมาชิก การทำงานเพื่อสังคม รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับอำนาจต่อรองของคนงานในนามสหภาพแรงงาน
* * * * * * * *
งานเขียนที่จัดพิมพ์
มาสเตอร์ทอย: 72 ปีแห่งการต่อสู้บนท้องถนน(2544)
จรรยา ยิ้มประเสริฐ และบรรจง เจริญผล
เรื่องราวของคนงานกว่า 150 คนที่ตื่นรู้ในเรื่องสิทธิ และประท้วงบริษัทเมเฉิงทอย ที่เลิกจ้างพวกเขาเพราะจัดตั้งสหภาพแรงงาน, 2544
ใครบอกว่าคนไทยอ่อนแอ (2545)
จรรยา ยิ้มประเสริฐ จรัล กล่อมขุนทศ และรุ่งนภา ขันคำ
จรัลและรุ่งนภาเป็นสองในแกนนำสหภาพเสรีปานโก้ ที่หนังสือสือเล่มนี้ได้เขียนขึ้นเพื่อรำลึก 10 ปีแห่งการต่อสู้ของพวกเขา ชาวเสรีปานโก้, 2544 เป็นสหภาพเดียวในประวัติศาสตร์เท่าที่ทราบท่ีทำให้นายทุนที่เอาเปรียบแรงงาน ต้องเข้าไปอยู่ในคุก เผชิญกับความเจ็บปวด (แม้จะระยะเวลาสั้น) เช่นที่คนงานต้องเผชิญทุกเมื่อเชื่อวัน
โซ่การผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (ไทยและอังกฤษ) (2546)
รายงานการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการและโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ในประเทศไทยที่กดชะตากรรมของคนงานหญิงนับล้านคนไว้ในขั้นตอนสุดท้ายแห่งการ ผลิตในอัตราค่าจ้างต่ำสุด และต่อต้านการรวมตัวต่อรองของคนงานหญิงอย่างรุนแรง
พอกันที (ไทยและอังกฤษ)(2546)
พอกันที
พอกันทีกับยุทธการทำร้ายและรังแกคนงาน โดยเฉพาะในความพยายามขัดขวางคนงานในทุกวิถีทางของนายทุน เพื่อไม่ให้สามารถตั้งสหภาพแรงงานเพื่อรวมตัวต่อรองกับนายทุนได้สำเร็จ เรื่องราวการต่อสู้ได้้ถูกนำเสนอในรูปแบบบทสนทนาและภาพวาดเพื่อให้เข้าใจได้ ง่าย
ต้นทุนต่ำสุด กำไรสูงสูด (ไทยและอังกฤษ)(2549)
จรรยา ยิ้มประเสริฐ และ Petter Hveem เป็นงานเขียนที่วิพากษ์การปรับตัวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มโลกที่วางระบบ การผลิตอยู่บนการลอยตัวของความรับผิดชอบตรงต่อคนงานที่อยู่ในโซ่สุดท้ายของ การผลิต และสร้างภาพลักษณ์แห่งการเป็นบรรษัทข้ามชาติที่มีจรรยาบรรณด้านแรงงานและมี จริยธรรมเพื่อสังคม
กว่าจะบอกได้ว่า ทำไมถึงไม่รักในหลวง
เป็นงานเขียนที่เกิดจากความสุดทนเมื่อเห็นประชาชนคนไทยถูกทหารยิงตายกลางท้องถนนอย่างป่าเถื่อนและโหดร้ายอีกครั้ง เมื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงเดือนเมษา-พฤษภาฯ 2553
แรงงานข้ามชาติ
รวบบทความงานเขียนที่เชื่อมร้อยปัญหาแรงงานโรงงานอุตสาหกรรม และปัญหาเกษตรกรแรงงานในชนบทที่ถูกล่อหลอกให้จ่ายค่าหัวคิวแพงลิบกับการไปทำงานที่ยากลำบากที่ต่างแดน กับวิถีการเมืองประชาธิปไตยใต้กระบอกปืนที่ครองธรรมเนียมการเมืองไทยมายาวนานหลายทศวรรษ
* * * * * * * *
ผลงานแปล
คู่มือสหภาพแรงงานของไอยูเอฟ (2544)
เพื่อเป็นคู่มือการดำเนินงานสหภาพที่เป็นประชาธิปไตย ทั้งนี้หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงหลักการ การบริหาร การเก็บค่าสมาชิก การทำงานเพื่อสังคม รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับอำนาจต่อรองของคนงานในนามสหภาพแรงงาน
ไม้ขีดก้านเดียวเปลี่ยนสังคมเกาหลี (2552)
ชุน เต-อิล กรรมกรโรงงานเย็บผ้าวัย 22 ปี เผาตัวตายประท้วงสภาพการทำงานในโรงงานนรกที่เกาหลีเมื่อวันที่ 13 พฤษจิกายน 2513 การประท้วงความโหดร้ายของทุนและความไม่ยี่หร่ะต่อการกดขี่ขูดรีดแรงงานของ กระทรวงแรงงานและรัฐบาลของเขาได้ปลุกให้คนเกาหลีตื่นมารับรู้ความโหดร้ายของ สังคมและลุกขึ้นสู้เพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของกรรมาชีพ และเพื่อขับไล่เผด็จการและวางรากฐานประชาธิปไตยประชาชนของประเทศ
ยังงานแปลบทความขนาดสั้นอีกหลายชิ้น ที่มีการตีพิมพ์จากหน่วยงานเจ้าของผลงานนั้น
* * * * * * * *
สารคดี
การต่อสู้ของคนงานมาสเตอร์อย 2545
สารคดีเรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยจรรยา ยิ้มประเสริฐ เป็นแรงบันดาลใจให้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สื่อวีดีโอเพื่อนำเสนอ ปัญหาแรงงานและปัญหาสังคมการฝึกอบรมนักฝึกอบรมด้านสิทธิสตรีและการค้า (ไทยและอังกฤษ)
สารคดี 30 นาทีที่นำพาท่านสู้การฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมของนักกิจกรรมจากเอเชียกว่า 20 คน ที่ชะอำ ประเทศไทย ในเดือนเมษายน 2546 เป็นไปด้วยความสนุกสนานและสาระ
คนงานไก่สด, 11 นาที (ไทยและอังกฤษ), 2549
เรื่องราวการต่อสู้ของสหภาพแรงงานไก่สดเซนทาโก ที่รวมตัวกันตั้งแต่ปี 2537 สหภาพแรงงานหญิงที่ถูกต่อต้านจากบริษัทอย่างรุนแรง พวกเขาประท้วงหลายเดือนเพื่อเรียกร้องให้นายจ้างจัดสวัสดิการค่าเดินทาง เพิ่มเพียง 10 บาท แต่ก็ถูกต้านทานจากนายจ้างอย่างรุนแรง
คนงานไทยในไต้หวัน: ล๊อตเตอรรี่หนี้ชีวิต, 30 นาที, 2548
เรื่องราวของหญิงไทย 4 คนกับการตัดสินใจจ่ายค่านายหน้าคนละ 150,000 – 190,000 บาทเพื่อไปทำงานแม่บ้านที่ไต้หวัน พวกเธอบอกว่ามันเหมือนกับการซื้อล๊อตเตอรรี่ที่ทำให้ต้องเป็นหนี้ทั้งชีวิต
FTA เมื่อทุนปล้นไท, 26 นาที, มกราคม 2549
เรื่องราวของผลกระทบจากการทำข้อตกลงการค้าเสรีต่อคนยากจนจากทุกภาคส่วน ทั้งคนจนเมือง คนงาน เกษตรกรและชนเผ่า เกษตรกรรายย่อย(ยับ) ชาวไทยที่ต้องยุติการปลูกกระเทียมและหอมเพราะการไหลบ่าทะลักเข้ามาของสินค้า จากจีนที่ราคาถูกกว่าจนไม่สามารถแข่งขันได้
24 ชั่วโมงที่เปรู, 24 นาที, 2550
24 ชั่วโมงของการเดินทางไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตคนงานรับจ้างในไร่เกษตร ขนาดใหญ่ที่เมืองอีก้า 300 กม. จากเมืองหลวง ภาพชีวิตของคนทำงานปลูกอาหารส่งออก แต่กลับใช้ชีวิตอย่างอัตคัดขัดสน และอดยาก คือหน่ึ่งในหลายความจริงที่ตอกย้ำสังคมให้เห็นถึงความโหดร้ายของความละโมบ ของทุ
ชีวิตไร้ตัวตน, 30 นาที 2550
ความโหดร้ายทางการเมืองที่ทหารพม่ากระทำกับชาวพม่าและชนกลุ่มน้อย และความยากจนผลักให้ประชาชนในพม่ากว่า 2 ล้านคนต้องเดินทางเสี่ยงชีวิตมาเป็นแรงงานทาสในประเทศไทย
ลุกขึ้นสู้ไทรอัมพ์
สารคดีเพื่อบอกเล่าเรื่องราว 46 วัน แห่งการต่อสู้ของแรงงานหญิงไทรอัมพ์ สมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ที่ต่อสู้กับนายจ้างอย่างเข้มแข็งมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2523 การลุกขึ้นสู้ของพวกเธอร่วม 3,000 คน เพื่อปกป้องประธานสหภาพจิตรา คชเดช เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญของคนงานหญิงใน ประเทศไทย
รู้จักเพื่อนบ้าน, 24 นาที, 2551
10 วันแห่งการเดินทางด้วยรถโดยสารและเรือจากประเทศไทย ไปพบปะและเรียนรู้ปัญหาแรงงานในประเทศเขมรและเวียดนาม เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ แะสมานฉันท์คนงานข้ามพรมแดนประเทศ
น้ำตาคนคอย, 13 นาที, 2551
ชีวิตของเกษตรกรหนุ่มที่ยอมจ่ายค่านายหน้าร่วม 300,000 บาท เพื่อไปทำงานในไร่เกษตรที่อิสราเอล แต่ต้องกลับมาเสียชีวิตที่เมืองไทยจากภาวะไตวายหลังจากทำงานได้เพียงปีกว่า
วิกฤติบลูเบอร์รี่ 2009, 35 นาที, 2552
ความหวังว่าในช่วงเวลา 3 เดือนหลังปลูกข้าวเสร็จแล้ว และรอเก็บเกี่ยว จะสามารถหารายได้มาเกี่ยวข้าวจากการยอมจ่ายเงินค่าใช้จ่ายร่วม 150,000 บาทเพื่อเดินทางมาเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนของเกษตรกรไทยร่วม 8,000 คนในปี 2552 กลายเป็นวิกฤติขาดทุนกันร่วม 80%
เรื่องเล่าของคนเก็บเบอร์รี่ 39 คนที่สวีเดน, 15 นาที, 2553
หลายคนอยากเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนเพื่อหวังว่าอาจจะได้เงินไปใช้หนี้จากการ เสียหายในปี 2552 แต่ส่วนใหญ่เป็นคนที่มาใหม่ ที่อยากมาลองเสี่ยงโชค แต่ในฤดูกาลเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนในปี 2553 ยังคงมีเรื่องเล่าของความเสียหายและความเจ็บปวด เมื่อนายจ้างเชิดเงินหนีและลอยแพคนเก็บเบอร์รี่กว่า 150 คน
คนเก็บเบอรรี่ที่แลปแลนด์, 33 นาที, 2554
คนเก็บเบอร์รี่ที่ฟินแลนด์ใช้ชีวิตกินอยู่กันอย่างไร และการเก็บเบอร์รี่ต้องทำยังไงบ้าง สารคดีเรื่องนี้ตามไปถ่ายทอดเรื่องราวของพวกเขาจากแคมป์ที่พักหลายแห่งใน ฟินแลนด์และตามไปถึงในป่าเบอร์รี่ จนส่งพวกเขาขึ้นเครื่องกลับเมืองไทยด้วยความเศร้าสะเทือนใจ
* * * * * * * *
การบรรยาและและฝึกอบรม (Training & Presentations)
ภาควิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา, มหาวิทยาลัยศิลปากร ‘การต่อสุ้ของคนงานมาสเตอร์ทอย’, ตุลาคม 2543.
Clean Clothes Campaign,‘สุธาสินี แก้วเหล้กไหล และจรรยา ยิ้มประเสริฐ เดินสายนำเสนอปัญหาแรงงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าให้แบรนด์ดังของโลก ใน 6 ประเทศในยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย สวีเดน เยอรมัน เนเธอแลนด์ และเบลเยี่ยม,16 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน 2543
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และสหภาพโลก, ‘การฝึกอบรมเกี่ยวกับ จรรยาบรรณด้านแรงงานของบรรษัทข้ามชาติ’, ILO, ตูริน, อิตาลี, มิถุนายน 2544
สหพันธ์สิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่มแห่งประเทศไทย และโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย การจัดกิจกรรม ‘Play Fair at the Olympics’, กรุงเทพฯ, ธันวาคม 2545.
การฝึกอบรมนักฝึกอบรมเรื่อง ‘เพศกับการค้า’ Women in Development Europe (WIDE), เวียนนา อออสเตรีย, 2545
IGTN and WIDE ‘ฝึกอบรมนักฝึกอบรมเรื่องเพศกับการค้าให้กับนักกิจกรรมหญิงเอเชีย’ ชะอำ, ประเทศไทย เมษายน 2546
Clean Clothes Campaign ‘Supply Chain in the Garment Industries’. Play Fair at the Olympics Campaign Conference, บรัสเซล, เบลเยี่ยม 21 เมษายน 2546.
Oxfam International ‘Thailand lesson’s learned’, 2nd Consultation on Asian Labour Groups, โบกอร์, อินโดนีเซีย, เมษายน 2546.
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บรรยายนักศึกษาปริญญาโท ‘สถานการณ์แรงงานไทยในยุคโลกาภิวัตน’์, สิงหาคม 2546.
Action Aid. ‘Campaign on Gender Policy’, Action Aid International Conference, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กันยายน 2546.
Asian Monitor Resource Centre, ‘Asian Transnational Corporations Network’, World Social Forum, มุนไบ, อินเดีย มกราคม 2547
Clean Clothes Campaign, ‘Experiences in Organizing Garment Workers’, มุนไบ, อินเดีย มกราคม 2547
International Gender and Trade Network, ‘IGTN at World Social Forum’, มุนไบ, อินเดีย มกราคม 2547
Center for Education and Communication, ‘Organizing the unorganized workers’, มุนไบ, อินเดีย มกราคม 2547
UNDP, Consultation on MDG8, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก, 5-8 เมษายน 2547
Textile, Garment and Leather Workers Federation Thailand. ‘Post MFA – Free for All’, Bangkok, April and May 2004
UNITE. ‘Organizing in the Globalization World’, UNITE Congress, ลาส เวกัส, สหรัฐอเมริกา, 20-21 กรกฎาคม 2547
Action Aid International. ‘Women Workers in the Globalization World’, Bangkok, 31 สิงหาคม, 2547
ASEM People Forum. ‘Trade liberalization’, ฮานอย, เวียดนาม, กันยายน 2547
มหาวิทยาลัยคนจน ‘องค์การการค้าโลกและโซ่การผลิต”, ระนอง, ตุลาคม 2547
สหภาพยุโรป (European Union) ‘Corporate Social Responsibility’, สหภาพยุโรป, บรัลเซล, เบลเยี่ยม 17 พฤษจิกายน 2547
เดินสายนำเสนอปัญหาแรงงานหญิงใน 10 เมืองที่เยอรมัน จัดโดยองค์กรเครือข่ายผู้หญิง Tarre De Famme‘ , 19-30 พฤศจิกายน 2547.
Action Aid International. ‘บทเรียนการต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงานในจากประเทศไทย, นิว เดลลี, อินเดีย, 3 ธันวาคม 2547
Norwegian Church Aid. ‘Race to the Bottom: Exploitation of Workers in the Global Garment Industry’, ออสโล, นอร์เวย์ , 12 เมษายน 2548
People Global Action Canada. ‘Thailand Lesson’s Learn: Bed and Bath. When cats become tigresses and tigers’, มอนทรีออล, แคนาดา, 20 เมษายน 2548
สหภาพแรงงานไปรษณี์แคนาดา (Canadian Union of Postal Workers). “ความจำเป็นที่จะต้องมีการสมานฉันท์ระหว่างสหภาพแรงงานทั่วโลก”, งานประชุมใหญ่, คิวเบก, แคนาดา, 21 เมษายน 2548
มหาวิทยาลัยคนจน ‘ขบวนการแรงงานเกาหลีใต้’, กรุงเทพ, 28 เมษายน 2548
การประชุมปรึกษาหารือหลายฝ่าย “ทำไมต้องแม่สอด”‘คนงานต่างชาติในโซ่สุดท้ายของการผลิต”, แม่สอด จ. ตาก, 21 มกราคม 2548
People’s Global Action, ฝึกอบรมเรื่องเพศกับการค้าให้กับนักกิจกรรมชาวเอเชียใต้ Asia Conference on Gender and Popular Education Methodology, ดาการ์, บังคลาเทศ, 20-23 พฤษภาคม 2548
Association for Women in Development (AWID). Plenary address: ‘What have we made change?’. AWID 10th Conference, โรงแรมแชงกรีล่า, กรุงเทพ, 27 ตุลาคม 2548
Maquila Solidarity Network, ‘การเปลี่ยนแปลงของการต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงานหญิงในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่ง ห่ม’, AWID 10th Conference, โรงแรมแชงกรีล่า, กรุงเทพ, 27 ตุลาคม 2548
Gender Action. ‘ผลกระทบของ WTP และสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่อการพัฒนา’, AWID 10th Conference, Shangri-La Hotel, Thailand, โรงแรมแชงกรีล่า, กรุงเทพ, 27 ตุลาคม 2548
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ฝึกอบรมเรื่องเพศกับการค้า, นครนายก, 8-9 ธันวาคม 2548
Homenet ประเทศไทย. ‘โซ่าการผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มโลก’ กรุงเทพฯ, 23 ธันวาคม 2548
* * * * * * * *
หมายเหตุ:
นับตั้งแต่่มกราคม 2548 เป็นต้นมา การนำเสนอและบรรยายต่างๆ มีมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ จนไม่อาจทำบันทึกและรวบรวมไว้