คำนำ
กล่าวได้ว่านับตั้งแต่ปีปลายปี 2548 เป็นต้นมา ประเทศไทยอยู่ในภาวะชะงักงันทางการพัฒนา อันเนื่องจากความโกลาหลจากการต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจนำในสังคมไทย ระหว่างค่ายขุนนางชนชั้นสูงกับพรรคการเมืองทุนใหม่ขวัญใจคนจน ซึ่งทั้งสองค่ายต่างก็แอบอิงบารมีแห่งสถาบันกษัตริย์ไทย ท้ายที่สุดทหารในนาม “คณะการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค)” ด้วยการหนุนหลังจากขั้วชนชั้นนำเก่า ได้ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลทุนใหม่ได้สำเร็จในวันที่ 19 กันยายน 2549
แม้ว่ารัฐประหารครั้งนี้จะเป็นการทำในนาม “ขจัดนักการเมืองคอรัปชั่นและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” ที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งที่ 9 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่สิ่งที่แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาคือการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง และถนนสายหลักๆ ของกรุงเทพฯ ก็ถูกครอบครองด้วยประชาชนหลากหลายสีเสื้อ เพื่อแสดงพลังทางการเมืองตามความคิดความเชื่อของตน นับตั้งแต่นั้นมา
เป็นช่วงเวลาท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติที่ไม่หยุดหย่อน ขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องใจหายใจคว่ำไปกับรัฐบาล 7 คณะ (ทักษิณ, คปค., พลเอกสุรยุทธ์, สมัคร, สมชาย, อภิสิทธิ์และยิ่งลักษณ์) ที่แต่ละรัฐบาลแทบจะไม่มีเวลาทำงานกันอย่างจริงจังนอกจากแก้กฎหมายเพื่อไถ่โทษตัวเอง และ/หรือคุ้มครองตัวเองให้รอดจากอำนาจทั้งในและนอกรัฐธรรมนูญทั้งหลาย มันจึงเป็นช่วงเวลา 6 ปี ที่ปัญหาต่างๆ ของสังคมถูกดอง การเรียกร้องเรื่องการปรับปรุงกฎหมายต่างๆ หรือสวัสดิการต่างๆ ที่ดีขึ้นของประชาชนไม่สามารถขยับไปข้างหน้า
เพื่อประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าและพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เขียนขอร่วมเสนอมุมมองและบทวิเคราะห์ทางด้านแรงงานที่สะท้อนผ่านการต่อสู้ของแรงงานทั้งในเมืองและชนบท และบทวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทยที่เขียนตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2540 จนถึงปัจจุบัน รวมกันทั้งสิ้น 33 เรื่อง ในหนังสือ“แรงงานอุ้มชาติ” เล่มนี้
ด้วยหวังว่าบทความเหล่านี้ อาจจจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวแห่งความทุกข์ยากและการต่อสู้ของคนชั้นล่างในสังคม คนที่อยู่ชายขอบ คนที่เปรียบดังมือที่โอบอุ้มชาติ ที่ชาติไม่เคยมองเห็น หรือไม่เคยใส่ใจใยดีต่อพวกเขาอย่างแท้จริง และด้วยหวังว่าเรื่องราวของพวกเขาจะสามารถสั่นสะเทือนหัวใจของผู้มีอำนาจในสังคมไทยได้บ้าง โดยเฉพาะต่อนักการเมืองที่พวกเขาเลือกเข้ามาบริหารบ้านเมือง
คนไทยทุกข์มายาวนานเกินพอแล้ว มันถึงเวลาที่การเมืองไทยจะมุ่งแก้ปัญหาโครงสร้างสังคม ที่ดำรงตนอยู่บนการกดขี่ขูดรีดชนชั้นล่างมายาวนาน มันจำต้องเร่งหามาตรการเพื่อลดช่องว่างแห่งรายได้และวิถีชีวิตของประชาชนคนส่วนใหญ่กับอภิสิทธิชนในสังคมอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ผู้เขียนได้ปรับปรุง แก้ไขคำผิดและความคลาดเคลื่อนที่เคยมีเนื่องด้วยพื้นที่จำกัดจึงได้ตัดทอนประเด็นที่ไมร่วมสมัยออกไปบ้าง แม้ว่าบางบทความได้ถูกเขียนไว้กว่าสิบปี แต่ผู้เขียนเห็นว่าเนื้อหายังสะท้อนปัญหาของปัจจุบัน จึงนำมารวมไว้ด้วยเช่นกัน
หนังสือเล่มหนานี้ได้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
“แรงงานอุ้มทุน” เรือ่งราวการต่อสู้อันหนักหน่วงเพื่อสิทธิตามกฎหมายและสิทธิการรวมตัวต่อรองของแรงงานกับนายทุนไทยและนายทุนต่างชาติ
“คนชนบทอุ้มประเทศ” การต่อสู้ของแรงงานชนบทและแรงงานต่างชาติ ที่หลงติดอยู่ในตลาดค้าฝันของนักค้าแรงงานข้ามประเทศที่พากันหลั่งไหลไปล่อหลอกพวกเขายังหมู่บ้านในชนบท โดยเฉพาะที่ภาคอีสานและภาคเหนือของไทย
“ประชาธิปไตยใต้กระบอกปืน” การขุดค้นสู่แกนใจกลางปัญหาที่สั่งสมมาตลอดประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทย ซึ่งเผยโฉมนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
จำเป็นต้องกล่าวถึงยิ่งว่า ตลอดช่วงเวลากว่ายี่สิบปีของการร่วมต่อสู้เพื่อสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียม ผู้เขียนประจักษ์ถึงความสำคัญแห่งพลังสมานฉันท์ของคนที่ถูกกดขี่และถูกเอารัดเอาเปรียบ สู้เพื่อสิทธิการรวมตัวและสิทธิการเจรจาต่อรองร่วม อันเป็นหัวใจของภาคประชาชนไม่ใช่เฉพาะกับนายทุนเท่านั้น แต่กับรัฐบาลและผู้มีอำนาจตัดสินทางนโยบายของประเทศด้วย
ผู้เขียนตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องลุกขึ้นสู้เพื่อยืนหยัดในสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และการร่วมสมานฉันท์กับประชาชนมากมายทั่วทุกมุมโลก ที่ต่างก็ต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นไปจากวัฏจักรทาสแห่งความ “โง่ จน เจ็บ” รวมทั้งเพื่อร่วมพัฒนาการเมืองให้ปลอดการคอรัปชั่นและเคารพสิทธิและเสียงคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับพวกเราในประเทศไทย
มิตรภาพและการสมานฉันท์คือพลังสำคัญ ที่ทำให้ผู้เขียนสามารถทำงานโดยไม่ย่อท้อ ผู้เขียนจดจำ ระลึกถึงและรู้สึกขอบคุณไม่เคยลืมต่อการได้ร่วมต่อส้กู ับนักสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะหล่าคนงานผ้กูล้าหาญที่พยายามต่อสู้เพื่อสิทธิสหภาพแรงงานและเรียกร้องค่าชดเชยเมื่อนายจ้างปิดตัวหนีความรับผิดชอบ ทั้งสหภาพเสรีปาลโก้, อีเดนการ์เมนท์, ปิยะวัตน์ฟุตแวร์, มาสเตอร์ทอย, อัลฟ่าสปินนิงส์, ไทยเกรียงสิ่งทอ, พาร์การ์เมนท์, แอโร่การ์เมนต์, เหรียญไทย, อัลมอนด์ , เบดแอนด์บาธ, ไลท์เฮ้าท์, ไก่สดเซนทาโก, MKS, พับบลิซิส, มิกาซ่า, มอลเทน, โซนี่, บีวี ไดมอนด์, สยามสตาร์, มิกซ์ อิเลคทรอนิกส์, ไทรอัมพ์ ฯลฯ และอีกมากมายที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้หมด
การทำงานตลอด 20 ปีที่ผานมาของผู้เขียน จึงมากมายด้วยความทรงจำ ทั้งงดงามและเจ็บปวดจากการต่อสู้ที่ยากลำบากแสนสาหัส ในความเอื้ออาทรและเกื้อกูลที่ได้รับในทุกหนแห่ง มิตรภาพบนคราบน้ำตาและเสียงหัวเราะ ที่ประเมินมูลค่าแห่งทรัพย์สินเงินทองไม่ได้
ขอบคุณการทุ่มเทของอดีตผู้ร่วมงานในโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยทุกคนโดยเฉพาะสุธาสินี แก้วเหล็กไหล, เนาวรัตน์ เสือสอาดและเสน่ห์ หงษ์ทอง ที่ทำงานอย่างหนักเพื่อร่วมกันจัดตั้งองค์กร ขอบคุณทีมงาน TLC ทั้งอดีตและปัจจุบัน Miriam Joffe-Block, Sam Hummel, สุนทร บุญยอด, ศราวุธ ใจหลัก, ประพาส แสนสิงห์, เปรมใจ ใจกล้า, Dennis Arnold, อุษาวดี ชาวแพร่, นุ่มนวล ยัพราช, พรพรรณ มังกิตะ, ชุติมา ไชยหงส์, จารุวรัฒน์ เกยูรวรรณ, มุกดาลักษณ์ ภาษี, พัชณีย์ คำหนัก, วิทยากร บุญเรือง, ธนากร สัมมาเสโก และป้าทองไสที่ดูแลสำนักงานมาหลายปี
การได้เรียนมหาวิทยาลัยคือสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ครอบครัวได้มอบให้กับผู้เขียน ขอบคุณพ่อแม่และพี่น้องทุกคน และก็ต้องขอถือโอกาสนี้กล่าวขอบคุณอาจารย์อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัยและอาจารย์ทรงยศ แววหงษ์ แห่งภาควิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา คณะอักษรศาสตร์ และอาจารย์บัญญัติ เรืองศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ทำให้การศึกษาในรอบรั้วมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงแค่กระดาษแผ่นเดียว และจุดประกายให้ผู้เขียนมุ่งมั่นทำงานเพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม
ขอบคุณเจ้าของภาพประกอบทุกท่าน ขอบคุณอาสาสมัครทุกคนที่ช่วยทำให้หนังสือออกมาเป็นรูปเล่มจนสำเร็จและ โดยเฉพาะน้ำเพชร เชื้อชม ที่ออกแบบหนังสือเล่มนี้จนออกมาสวยงาม Mars ที่ให้คำแนะนำ อัจฉรา ด่านพิทักษ์และประภากร วงศ์รัตนาวิน ต่อความอุตสาหะและอดทนในการตรวจทานภาษา รวมทั้งขอขอบคุณอย่างยิ่งต่อสหายแรงงาน จิตรา คชเดช, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ขวัญระวี วังอุดม และ Richard Thompson Coon สำหรับมิตรภาพและกำลังใจที่มีให้ตลอดมาแห่งช่วงการลี้ภัยทางการเมือง รวมทั้งมืออีกหลายสิบคู่ที่หยิบยื่นมาช่วยเหลือดูแลทั้งจากเมืองไทยและจากต่างแดนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ถ้าหนังสือเล่มนี้ทำให้ท่านผู้อ่านเห็นความสำคัญของการสร้างอำนาจต่อรองร่วมกันระดับชาติ – ทั้งในหมู่แรงแรงงานในทุกอุตสาหกรรมทั้งหญิงชายที่ทำงานในโรงงานห้องแถวทั่วเมืองใหญ่ ทุกผู้คนในทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวนาชาวไร่ที่ทำงานกลางไร่นาในชนบท – ก็ถือเป็นความสำเร็จยิ่งแล้ว
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
* * *
เพราะมาตรา 112 ถูกโดยในหมวด "ความมั่นคงของรัฐ" ทำให้คนที่ถูกมาตรา 112 จึงถือเป็นบุคคลอันตราย ต้องคดีร้ายแรง เป็นผู้ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และมักจะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวและถูกตัดสินจำคุกร้ายแรงกว่าคดีฆ่าคนตาย
ทั้งนี้เพราะวิถีคิดที่ที่โยงเอาสถาบันกษัตริย์เข้ากับความมั่นคงของชาติ - แต่ในขณะที่ไม่โยงสถาบันศาสนา และสถาบันการเมือง เข้าอยู่ในข่ายความมั่นคงต่อรัฐในบริบททางกฎหมายดุจเดียวกับสถาบันกษัติรย์
คนที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 จึงถูกจัดอยู่ในคดีร้ายแรงเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐไปด้วย
ยกเลิกกฎหมายปิดปาก
ยกเลิกมาตรา 112
และปฏิรูปกฎหมายหมิ่นประมาททุกมาตรา!!!!