การประท้วงเรียกร้องให้สหรัฐหยุดโจมตีซีเรีย ...
Hands off Syria.
หน้าทำเนียบรัฐบาลฟินแลนด์
In front of Finland's Parliament House
5 กันยายน - 5 September 2013
Helsinki, Finland
* * *
112 = 0
112=ศูนย์ (สูญเสียสำหรับผู้ใช้)
สูญเสียความน่าเชื่อถือ
สูญเสียชื่อเสียง
สูญเสียมวลมิตร
สูญเสียงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น
112=0 หน้าทำเนียบรัฐบาลฟินแลนด์
ระหว่างร่วมประท้วงเรียกร้องสหรัฐหยุดโจมตีซีเรีย "Hands off Syria!"
* * *
Don't know what to cook for my friends this morning.
Here is the result, Vegan Fries, with sweet potato, banana and onion.
With Thai dressing, it's work and we all enjoy.
ไม่รู้จะทำอะไรเลี้ยงเจ้าบ้านดีเช้านี้ มีกล้วยหักมุก 2 ลูก มันเทศครึ่งหัว และหัวหอมอยู่สองสามหัว ... ก็เลยตัดสินใจเอามาทอด โดยหันเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาคลุกกับแป้งสาลีที่
ผสมเกลือและพริกไทจนเข้ากันแล้ว ... แล้วลงทอด ... อืม ไม่อมน้ำมันแฮะ
และก็ทำน้ำจิ้มมันทอดแบบไทยให้จิ้มทานกันเป็นอาหารเช้า
ท่าทางจะเป็นเมนูอาหาร ยามอับจนอุปกรณ์ในตู้เย็นที่ใช้ได้อีกเมนูหนึ่งฮะ
* * *
การทำอาหารและการอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย และป้องกันความเครียดได้ดี ในระหว่างรออะไรหลายเรื่องโดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้มาก และไม่มีสมาธิจะเริ่มเขียนอะไรแบบเป็นเรื่องเป็นราว
Cooking and reading are good recipes for relaxation.
* * *
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2556
เปิดข้อมูลเปรียบเทียบรายได้ของเกษตรกร "ข้าว" กับ "ยางพารา"
พบเกษตรกรปลูกข้าว 3.7 ล้านครัวเรือนมีรายได้เพียง 4,315 บาท/ไร่/ปี ขณะที่ชาวสวนยาง 1.5 ล้านครัวเรือน มีรายได้ 17,040 บาท/ไร่/ปี จากกรณีที่มีผู้พยายามจะนำตัวเลขงบประมาณ โครงการรับจำนำข้าวมาเปรียบเทียบกับเงินงบประมาณที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราก่อนหน้านี้ โดย กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) พบว่า มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมากถึง 3,728,542 ครัวเรือน ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา มีจำนวน 1,568,997 ครัวเรือน โดยใน 1 ครัวเรือนที่ปลูกข้าวจะมีสมาชิกโดยเฉลี่ยมากถึง 4.10 คน/ครัวเรือน ส่วนผู้ปลูกยางพาราจะเฉลี่ย 3.69 คน/ครัวเรือน นอกจากนี้ในส่วนของผลผลิต ปรากฏว่าข้าวมีผลผลิต 36.576 ล้านตัน ซึ่งแตกต่างกับผลผลิตยางพาราที่มีประมาณ 3.567 ล้านตัน ขณะที่ข้าวมีราคา 11,560-20,000 บาท/ตัน แต่ยางพารามีราคาสูงถึง 87,070 บาท/ตัน โดยข้าวที่ผลิตได้มีมูลค่าทั้งสิ้น 515,994 ล้านบาท ส่วนยางพาคามีมูลค่า 310,606 ล้านบาท
ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีรายได้ 138,377 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา มีรายได้กว่า 197,968 บาทต่อครัวเรือน
และเมื่อเฉลี่ยออกมาแล้วจะพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งมีจำนวนมากนั้นมีรายได้ 4,315 บาท/ไร่/ปี ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา มีรายได้สูงถึง 17,040 บาท/ไร่/ปี
------------------ |
ไม่เข้าใจว่าการเปรียบเทียบแบบนี้จะมีประโยชน์อะไร
เพราะทั้งเกษตรกรข้าวหรือเกษตรกรยางพาราก็คือเกษตรกรที่อยู่ผลิตสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับชาติทั้งสองด้าน และต้องได้รับการดูแลเช่นกัน
น่าตกใจที่ประเด็นเรื่องการต่อสู้เรื่องราคายาง ถูกตีประเด็นและวิจารณ์อย่างแบ่งแยกและแยกขั่วเกษตรกรข้าวกับยางพาราออกจากกันไปได้
ทั้งๆ ที่ไม่ว่าเกษตรข้าว อ้อย ข้าวโพด ข้าวเหนียว หรือยางพารา ต่างก็เป็นผู้ที่มีสิทธิจะเรียกร้องและต่อรองกับรัฐบาลในการดูแลช่วยเหลือได้เท่ากันทั้งนั้น
จริงๆ แล้ว พวกเขาควรจะมีสหภาพเกษตรกรของพวกเขาเพื่อใช้ต่อรองกับรัฐบาล
การเอาการเมืองเรื่องพรรค มาแบ่งแยกคนที่ทำการผลิตที่จำต้องได้รับการดูแลจากรัฐออกจากกัน ไม่ใช่การแก้ปัญหาในชาติ และเป็นการบิดเบือนประเด็นที่จะเห็นปัญหาหรือเปิดให้ถกปัญหาอย่างแท้จริง
ไม่ว่ากลุ่มเกษตรกรยางพาราจะได้การหนุนจากประชาธิปัตย์อย่างไร
การจัดการตามกระบวนการสากลในการสอบสวนความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ให้ทำไปตามกฎหมายที่ไม่มีการเลือกปฏิบัติและไม่ขัดกับสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมต่อรอง
การเปิดเจรจาเป็นสิ่งจำเป็น และรัฐบาลก็ได้ทำแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องน่าชื่นชม
ขอนอกเรื่องนิดหนึ่ง
สื่อไทยมักจะมีจริตแห่งคนเมืองที่อยู่ภายใต้การเมือง "แบ่งแยกและสลายขั้ว" มายาวนาน การเขียนข่าวจึงมักจะเขียนแบบจริตคนเมือง คนที่ไม่เคยใช้สิทธิการต่อรองร่วม และไม่มีความรู้เรื่อง "กระบวนการต่อรอง" ของคนผลิตหรือคนงาน
ซึ่งก็ไม่น่าแปลก เพราะทุนไทยต้านสหภาพแรงงานอย่างหนัก
หนังสือพิมพ์ทุกแห่งก็ต้านคนทำสื่อตั้งสหภาพแรงงานอย่างหนักเหมือนกัน จนทำให้สัดส่วนสมาชิกสหภาพรแงงานไทยต่อจำนวนประชากรในวัยกำลังงานจึงมีเพียงห้าแสนกว่าคน หรือ 1.3% ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ 40 ล้านคน
* * *
ขออธิบายอีกรอบ
เรื่องนี้ไม่ใช่การเข้าข้างเกษตรกรยางพารา แต่พยายามแลกเปลี่ยนจากมุมมองนั
กสหภาพแรงงานที่ต่อสู้เพื่อสิทธิการรวมตัวต่อรองไม่ว่าจะคนงาน เกษตรกร หรือคนงานต่างชาติ
ขอยกสถิติจากข่าวสดที่อ้างถึงไปแล้วมาพูดถึงอีกครั้ง
"ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีรายได้ 138,377 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา มีรายได้กว่า 197,968 บาทต่อครัวเรือน" (
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09EUTFOamswTmc9PQ%3D%3D&subcatid)
เกษตรกรข้าวมี 3.73 ล้านครอบครัว
เกษตรยางมี 1.57 ล้านครอบครัว
(จำนวนเยอะทั้งสองการผลิต)
ในขณะที่ จำนวนคนในครอบครัวจะอยู่ที่ไม่ต่างกันมากคือเกษตรกรยาง 3.7่ คน/ครอบครัว และเกษตรกรข้าว 4.1 คน/ครอบครัว
แต่จากการนำเสนอในโลกเฟซบุ๊คและในสื่อไทย
ดูราวกับว่า สังคมไทยกำลังจะบอกว่า เกษตรกรยางพาราผิด ที่มีรายได้สูงกว่าเกษตรปลูกข้าว
ทำไมเราไม่พูดว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรปลูกข้าวมีรายได้สูงเท่าเกษตรกรปลูกยางพาราหรือจะมีอาชีพเสริมหรือการหนุนเสริมอย่างไรจากรัฐให้มีรายได้เท่ากับเกษตรกรยางพารา
แม้อาจจะดูว่าเกษตรกรยางพารามีรายได้เฉลี่ยกว่าเกษตรปลูกข้าวสูงกว่าอยู่ปีละ 50,000 กว่าบาท
กระนั้นก็ตาม จริงๆ แล้วรายได้ของทั้งคู่ก็ยังถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับจำนวนคนในครอบครัวและที่สำคัญยังต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนที่รัฐบาลวางไว้สำหรับคนทำงานด้วยซ้ำ (แม้ว่าเกษตรยางพาราจะมีรายได้สูงกว่าเกษตรปลูกข้าวก็ตาม)
เพราะเมื่อคำนวณเฉลี่ยต่อหัวแล้ว
เกษตรกรยางมีรายได้เฉลี่ยปีละ 197,968 บาท/ครัวเรือน หารด้วย 3.7 คน หารด้วย 12 เดือน ก็จะตกที่คนละเพียง 4,459 บาท ต่อคนต่อเดือนเท่านั้น
ส่วนเกษตรกรข้าวมีรายได้ปีละ 138,377 บาท/ครัวเรือน หารด้วย 4.1คน หารด้วย 12 เดือน ก็จะมีรายได้เพียง 2,813 บาท ต่อคนต่อเดือนเท่านั้น
แน่นอนรายได้เกษตรกรปลูกข้าวจากตัวเลขนี้ต่ำจนน่าใจหาย
ดังนั้นเรื่องข้าวกับยางพาราจึงไม่ใช่เรื่องราคาต่อตัน เพราะผลผลิตเชิงปริมาณนั้นเทียบกันไม่ได้ แต่ต้องดูในภาพรวมว่า ทั้งสองกลุ่มยังมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำอยู่มาก และต่ำกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่มากถึงสองถึงสามเท่าตัว
ประเด็นเรื่องนี้ จึงไม่ใช่ปรักปรำเกษตรกรปลูกยางพาราว่า "ไม่รู้จักพอ" และบอกว่า "เกษตรปลูกข้าว" "รู้จักพอมากกว่า" เพราะแน่นอนว่า "เกษตรกรปลูกข้าว" ก็บอกว่ารายได้ของตัวเองนั้นไม่พอเช่นกัน
แต่ควรเป็นเรื่องที่รัฐจะวางแผนให้เกษตรกรทั้งประเทศในทุกการผลิต กว่า 5-6 ล้านครอบครัว ที่มีประชากรกว่า 30 ล้านคน สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร?
* * *
ช่วงเล่นเฟซบุ๊คใหม่ๆ แบบเข้มข้นหลังตัดสินใจไม่กลับไทยเมื่อมิถุนายน 2553 นั้น ใจมักจะตุ่มต่อมหน่อยๆ เวลาโพสต์ประเด็นแรงๆ กลัว feedback แล้วไม่สามารถตอบโต้ด้วยเหตุผลไ
ด้ -กลัวเหมือนกันนะฮะไม่ใช่ไม่กลัวอะไรเลย ...อิ อิ
ผ่านมา 3 ปี ภาวะอาการใจตุ่มๆ ต่อมๆ หายไปเยอะ
ในแง่หนึ่งเฟซบุ๊คก็เป็นโรงเรียนฝึกการอ่าน จับประเด็น และการเขียนวิจารณ์และตอบโต้ได้อย่างดีระดับหนึ่งเหมือนกัน และเห็นทั้งข้อผิดพลาดของตัวเอง ทำให้ต้องระวังมากขึ้นด้วยเช่นกัน
การฝึกเขียนและฟังเสียงสะท้อนหรือดูเสียงสะท้อนผ่านเฟซบุ๊คนี่เร็วกว่าการจะผลิตหนังสือออกมาแต่ละเล่มมากๆ ทีเดียว
ใครรู้สึกแบบเดียวกันบ้างเอ่ย?
* * *
ยินดีด้วยจ๊ะอั้มและนักศึกษารุ่นใหม่ ที่แคมเปญนี้ทำเอาสะดุ้งกันไปได้ ...
ขอให้เมืองไทยเลิกระบบชุดนักเรียนนักศึกษาทุกระดับชั้น โดยเร็วที่สุด
* * *
จับคดี 112 คนหนึ่งนี่ มันราวกับจับอาชญากรร้ายฆ่าคน 100 ศพหรือไงฮะ ถึงขนตำรวจไปกันมากมายขนาดนี้ ...
ตำรวจไทยไม่มีงานอื่นทำกันเลยหรือไงฮะ นอกจากการแสดงความจงรักภักดีอย่างล้นเกินเช่นนี้
"คุณ เคนจิ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามไปจับถึงบ้านที่สมุทรปราการ โดยตำรวจนำกำลัง 10 คันรถ 200 กว่านายเข้าไปจับ"
A new case of LM 112.
On 30 August 2013, a cyber user name 'Kenji' was ambushed at his home by 200 polices in 10 cars. He was arrested as well as his computer and some documents were seized. After police's interrogation, he was sent to Bangkok Remand Prison.
He pledge guilty saying that in order for his case to settle as soon as possible.กรณี 112 ล่าสุดฮะ
คดี ที่คุณเคนจิโดน คือ คดี 112 และผิด พรบ. คอมฯ
"คุณ เคนจิ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามไปจับถึงบ้านที่สมุทรปราการ โดยตำรวจนำกำลัง 10 คันรถ 200 กว่านายเข้าไปจับคุณเคนจิเมื่อวัน ศุกร์ ที่ 30 ส.ค. 2556 แล้วนำตัวมาสอบสวนที่ สภ. สมุทรปราการ จากนั้น ก็นำมาฝากขัง ไว้ที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556 พร้อมทั้งยึดเครื่องคอมและเอกสารที่เีกี่ยวข้องไปตรวจ สอบด้วย"
อ่านรายละเอียด "ถามหาคุณเคนจิ....อยู่ไหนเพื่อนกลับบ้านหน่อย"