6 ก.ค. 13

คิดว่าผลออกมาเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะปัญหาที่เกิดจากการทำโพลแบบไทยๆ ที่ทำกันด้วยความพร่องทางตรรกะตั้งแต่การตั้งคำถามเสียแล้ว ยังตามมาด้วยการสร้างตัวเลือกบนความพร่องแห่งตรรกะและความคิดอีกด้วย

ไม่มีประเทศไหนที่พัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนถ้ายังปล่อยให้มีการคิดแบบนี้ดำรงอยู่

การขจัดคอรัปชั่นเป็นหัวใจแห่งการบริหารบ้านเมือง เพื่อสร้างเสถียรภาพของการเมืองและสังคมในทุกประเทศอารยะ

คำถามเรื่องคอรัปชั่นจึงควรเป็น "คำถามเปิด" ที่เปิดให้คนนำเสนอแนวทางกันมาได้อย่างเต็มที่ เพื่อจัดการกับปัญหานี้

ไม่ใช่เพียงการใช้สถิติจากโพล เป็นคำตอบเพื่อปลอบใจและปล่อยใจยอมรับวิถีการเมืองแบบนี้กันต่อไป
------------

คมชัดลึก "65.5%ยอมรับ'คอร์รัปชั่น'หากได้ประโยชน์"

ผลสำรวจปชช. 88.9% ผิดหวังคนปราบโกงแต่โกงเอง ร้อยละ 65.5 ยังคงยอมรับคอร์รัปชั่น หากตนเองได้ประโยชน์
* * *

เวลากูเขียนว่า "นักการเมือง" หรือ "การคอรัปชั่นทางการเมือง" น่ะ อยาคิดกันไปเอง เหมากันไปเองว่ากูด่า "รัฐบาลเพื่อไทย" เท่านั้นซิวะ

คำว่า "นักการเมือง" มันก็ตรงตัวน่ะ คือคนที่อาสาลงรับเลือกตั้งเข้ามาบริหารบ้านเมือง ในทุกระบบการเลือกตั้งนั่นล่ะ ไม่ว่าจะฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล หรือสว.เลือกตั้ง ลากตั้ง ก็นักการเมืองทั้งนั้น

และคำว่า "คอรัปชั่น" คือการ "โกง" "ฉ้อฉล" "สร้างความมั่งคั่งโดยมิชอบ" ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่บอนเซาะและทำลายพัฒนาการของชาติ ไม่ว่าจะกระทำโดยใครก็ตาม .. เป็นการกระทำที่ต้องประนามและจัดการอย่างจริงจังโดยเฉพาะกับพวกที่กระทำยำยีกับงบประมาณแผ่นดิน (ทุกฝ่ายที่กินอยู่และดูแลรับผิดชอบงบประมาณแผ่นดิน ... ไม่ใช่จำกัดตัวอยู่แค่นักการเมืองเท่านั้น)

ส่วนจะตรวจสอบและพิสูจน์ว่าใครจะโกงกิน ใครคอรัปชั่น ก็เป็นหน้าที่ของ "รัฐบาลของประชาชน" ที่จะดำเนินนโยบายตรวจสอบ

ที่สำคัญ ... ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลเท่านั้นที่จะต้องจัดการปัญหานี้ ... หน้าที่ตรวจจับและตรวจสอบนักการเมืองโกงกินเป็นหน้าที่ของ "ประชาชน" ทุกคน ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่พรรคไหน หรือเป็นพวกใครก็ตาม!

เข้าใจตรงกันตามนี้นะฮะ...

เพราะกูเหนื่อยนะที่เมื่อเขียนคำว่า "นักการเมือง" หรือคำว่า "การเมืองคอรัปชั่น" ที่ไร สาวกเพื่อไทยมักจะเข้ามาโต้โดยไม่ดูบริบทของข้อเขียนกันให้รอบคอบอยู่หลายครั้ง!
* * *

ถ้าบรรษัทบริหารงานหละหลวม ปล่อยให้ลูกน้องโกงกินกันอย่างมหาศาล ไม่ใส่ใจกับการตรวจสอบ ไม่นานบรรษัทนั้นก็ล่ม

ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น ถ้าประเทศใดปล่อยให้การโกงกินกับงบประมาณแผ่นดินทำได้อย่างง่ายดายและไม่ใส่ใจตรวจสอบ แม้ว่าอาจจะไม่ล่มพังคลืนเช่นบรรษัท เพราะความใหญ่โตและเป็นสถาบันกว่า ... แต่ประเทศนั้นก็จะใช้เวลาพัฒนาประเทศยาวนานกว่าประเทศที่จัดการเรื่องนี้ได้สำเร็จมากกว่า เพราะการที่ต้องเสียงบประมาณรั่วไหลเรี่ยราดรายทาง จนไม่สามารถใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หนึ่งในงบประมาณแผ่นดินที่ถูกใช้อย่างรั่วไหลเรี่ยราดรายทางของไทยที่ชัดเจนมาก ก็ได้แก่งบทหารและงบเฉลิมพระเกียรติและปกป้องสถาบันกษัตริย์เนี่ยล่ะ ...ที่พุ่งสูงขึ้นทุกปีและแทบไม่มีการตรวจสอบเลยตลอดที่ผ่านมา

จัดการกับงบประมาณสองตัวหลักนี้ได้ ก็จะทำให้ขยับไปจัดการกับการคอรัปชั่นแบบอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ ล่ะ!
* * *

เพื่อนกูถามมาว่า มีนักเขียนไทยคนไหนบ้างที่กัดก้อนเกลือกินและใช้ชีวิตอย่างอดยากเพราะยึดมั่นในการเขียนหนังสือ ...

อืม... นักอ่านทั้งหลายช่วยกันระดมสมองยกตัวอย่างนักเขียนไทยที่ขบถและยึดมั่นในอุดมการณ์กันมาหน่อยนะ มีหลายคนแน่ๆ ...
* * *

 

ปฏิรูปคณะสงฆ์ และนิยามความหมายของคำว่า "สงฆ์" ให้ได้ก่อนนะฮะ ..

ก่อนจะมาอ้างคำว่า "ศาสนาพุทธ" เพื่อการปลุกระดมความคลั่ง ..

จริงๆ ฆาราวาสก็ต้องปฏิรูปฮะ แต่คนที่อวดอุตริจะเป็นผู้นำทางความคิดคนในคราบ "สมณะสงฆ์" จำต้องปฏิรูปตัวเองเป็นสำคัญ

"สมณะสงฆ์" ในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า ควรมีหน้าที่สร้างความ "ตาสว่าง" ให้กับสังคม ไม่ใช่มอมเมาสังคมกันให้อยู่กับความมืดบอดยิ่งขึ้นเช่นปัจจุบัน เพื่อหวังผลประโยชน์ที่จะได้จากความมืดบอดเหล่านั้น
* * *

อืม! ได้ฟังการเมืองหลังม่านแล้ว ก็เป็นเช่นที่คาด 'เกมจงรักภักดี สัมพันธ์ที่ดีกับทหาร' ... Let's it be - ไม่แก้แค้น...

จะพูดเรื่องความยุติธรรม ก็เพียงเมื่ออยู่ต่อหน้าประชาชนเท่านั้น

ประชาชนชาวไทยจะเล่นเกม "รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก" กันไปอีกนานแค่ไหน!



Manager online  "Exclusive : บทสนทนาจากแดนไกล ฉบับเต็ม (ฟังคลิปเสียง)"


* * *

เรื่องคลิป จริงๆ มันก็คือการเมืองล่ะ ... ได้ฟังกันจะๆ เท่านั้นเอง.

และจากบทเรียนการเจรจากับนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐมากว่า 20 ปี ทำให้ไม่แปลกใจ...

และจริงๆ แล้วกูก็ไม่เคยวางใจผู้มีอำนาจและผู้กุมนโยบายส่วนบนของไทยอยู่แล้ว และก็รู้ว่ามันมีการเจรจาลับหลังกันตลอดนั่นล่ะ ...

สิ่งที่กูอยากเห็นการเจรจาหลังม่านมากขึ้น คือ จะทำให้การเจรจาตรงระหว่างประชาชนกับผู้มีอำนาจกระทำกันได้มากขึ้นอย่างไร - ไม่ใช่การเจรจาผูกขาดและแนบแน่นอยู่เฉพาะคนส่วนบน ระหว่างคนส่วนบนหรือคนที่เข้าถึงส่วนบนเท่านั้น?

แน่นอนว่า ถ้าไม่มีการเจรจา ปัญหาหลายเรื่องก็ไม่ได้ถูกหยิบยกมาแก้ไข ...

ประเด็นสำคัญเพื่อพัฒนาการทางการเมืองของไทย คือ จะทำอย่างไรให้ผู้กุมอำนาจและมีอำนาจตัดสินใจทางนโยบาย เปิดให้ตัวเองได้มีการเจรจาพูดคุยตรงๆ กับชาวบ้านและตัวแทนกลุ่มปัญหาต่างๆ มากขึ้น ... เป็นประเด็นที่กูสนใจและอยากเห็นให้มีการทำกันมากขึ้นในประเทศไทย

* * *

การไม่ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับนักการเมืองที่ตัวเองเลือก เป็นการให้ท้ายนักการเมืองให้กลายเป็นนักการเมืองที่เลวได้

อยากได้นักการเมืองที่ดี ตัวแทนที่ดี ต้องตรวจสอบ ติดตาม และกำกับการทำงาน และวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเห็นการกระทำที่ไม่เข้าท่า...

เช่นเดียวกับติดตาม ตรวจสอบ และกำกับ ผู้มีหน้าที่ให้บริการเรา - ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ อบต. ลูกจ้างรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

การรักนักการเมืองและรักตัวแทนอย่างมีวุฒิภาวะ คือ การไม่ปล่อยและไม่เปิดโอกาสให้พวกเขาเช้าชามเย็นชามและโกงกินได้!
* * *

กรรมของคนงาน ...


นับตั้งแต่ก่อตั้งกระทรวงแรงงานในปี 2536 กระทรวงนี้กลายเป็นกระทรวงที่ใช้รับรองนักการเมืองกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการเมืองที่รัฐบาบจำต้องหาที่ลงทางตำแหน่งให้ จึงเกิดปรากฎการณ์เปลี่ยนตัว รมต. ว่าการกระทรวงฯ กันทุก 1 ปี หรือ 2 ปี และหลายครั้ง ตัว รมต. ที่ถูกโละจากตำแหน่งที่ใหญ่กว่าถึงกับร่ำไห้เมื่อถูกส่งมาที่กระทรวงแรงงาน

จริงๆ คนที่ควรร่ำไห้มากกว่าคือ "คนงาน" และ "ขบวนการแรงงาน" ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนรูปธรรมข้อเรียกร้องกับกระทรวงนี้ได้เลย ... ข้อเรียกร้องที่ยื่นให้ รมต. ทุกวันที่ 1 พฤษภาคมของคนงานกลายเป็นกระดาษที่ไร้ประโยชน์ แม้แต่เรื่องให้สัตยาบัน ILO 87 และ 98 ที่เรียกร้องกันมาเกือบจะเท่ากับอายุของกระทรวงแรงงาน ก็ยังไม่สามารถให้กับคนงานได้จนถึงบัดนี้

เพราะการที่มันเป็นกระทรวงเพื่อต่อรองการเมือง ที่ย้ายมาจากกรมแรงงาน ของกระทรวงมหาดไทย และที่มีการเปลี่ยนตัว รมต. เป็นว่าเล่น

คนคุมนโยบายกระทรวงจึงคือข้าราชการกระทรวงแรงงาน ที่มีทัศนคติ "เจ้า-ข้า" "นาย-ไพร่" และอคติต่อการรวมตัวต่อรองของคนงาน

มันไม่ใช่กรรมของ รมต. เฉลิมฮะ ที่ถูกย้ายมากระทรวงนี้ แต่เป็นกรรมซ้ำกรรมซ้อนของคนงานซะมากกว่า ที่จะต้องมาเจอ รมต.ที่มัวแต่เสียใจจากการย้ายมาอยู่กระทรวงแรงงานที่ต่ำต้อยเช่นนี้!
* * *

เอารายชื่อและระยะเวลาการทำงานที่กระทรวงแรงงาน ของรมต.กระทรวงตั้งแต่ตั้งกระทรวงในชื่อ "กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม" เมื่อปี 2536 จนตัดเหลือแค่ "กระทรวงแรงงาน" เมื่อปี 2545

20 ปีของกระทรวงฯ กับรมต. 19 คน เฉลี่ยแล้ว รมต. อยู่ในตำแหน่งกันคนละเพียงหนึ่งปีกันไม่กี่วัน ...

ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป การแก้ไขปัญหาแรงงานจะทำกันได้อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร...

รัฐบาลไทย ต้องใส่ใจกับกระทรวงแรงงานมากกว่านี้!