เรื่องคนงานไทยที่มาเก็บเบอร์รี่ที่สแกนดิเนเวียร์


เรื่องงานไปเก็บผลไม้ป่า เบอร์รี่ หรือแบร์ ที่สแกนดิเนเวียนี่จิตวิทยาของงานที่สร้างขึ้นทั้งหมดตั้งอยู่บน "จิตวิทยาคนซื้อหวย" จริงๆ คือ "เสี่ยงได้เสี่ยงเสีย" และก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย บางปีดก บางปีไม่มี คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้

และก็เช่นเดียวกับราคาผลผลิตการเกษตร ถ้าอะไรได้ดี เกษตรกรจะแห่พากันปลูกในปีถัดไป แล้วก็เจ๊ง

กรณีเบอร์รี่ ถ้าปีไหนดีดก ปีต่อมาคนก็จะอยากมามากขึ้น แล้วก็จะเสียหายมากขึ้น และก็จะเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ

วิถีงานเบอร์รี่ มันเหมือนกับการซื้อหวย เราจะรู้จักและชื่นชมแต่ "คนที่ถูกรางวัล" ส่วนคนที่เสียเงิน 150,000 บาท ทำงานหนักเจียนตาย 70 วันๆ ละ 12-20 ชม. ไม่ได้พัก ทั้งยุง ทั้งฝน ทั้งชื้น ทั้งลื่น และทั้งหนาว ตลอดฤดูกาล ก็จะเกิดความอับอาย เก็บเรื่องราวอันเจ็บปวดไว้กับตัวเองและครอบครัว

และก็ไม่มีข้าราชการทั้งจากไทยและจากสแกนดิเนเวีย พยายามศึกษาว่าคนเสียหายนั้นมีเท่าไรกันแน่

เพราะไม่อยากให้ความจริงมากระทบอุตสาหกรรมที่ทำผลกำไรให้อย่างงดงามที่สวีเดนและฟินแลนด์ จนขนาดคนว่างงานในพื้นที่เก็บเบอร์รี่กว่า 25% ไม่ต้องทำงานอะไรได้ทั้งปี (แต่ก็ไม่ยอมเก็บเบอร์รี่ขายให้บริษัทเด็ดขาด)


จรรยา ยิ้มประเสริฐ
https://www.facebook.com/junya.yimprasert/posts/10200340708381044?comment_id=4975514


* * * 

เรื่องงานไปเก็บผลไม้ป่า เบอร์รี่ หรือแบร์ ที่สแกนดิเนเวียนี่จิตวิทยาของงานที่สร้างขึ้นทั้งหมดตั้งอยู่บน "จิตวิทยาคนซื้อหวย" จริงๆ คือ "เสี่ยงได้เสี่ยงเสีย" และก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย บางปีดก บางปีไม่มี คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้

และก็เช่นเดียวกับราคาผลผลิตการเกษตร ถ้าอะไรได้ดี เกษตรกรจะแห่พากันปลูกในปีถัดไป แล้วก็เจ๊ง

กรณีเบอร์รี่ ถ้าปีไหนดีดก ปีต่อมาคนก็จะอยากมามากขึ้น แล้วก็จะเสียหายมากขึ้น และก็จะเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ

วิถีงานเบอร์รี่ มันเหมือนกับการซื้อหวย เราจะรู้จักและชื่นชมแต่ "คนที่ถูกรางวัล" ส่วนคนที่เสียเงิน 150,000 บาท ทำงานหนักเจียนตาย 70 วันๆ ละ 12-20 ชม. ไม่ได้พัก ทั้งยุง ทั้งฝน ทั้งชื้น ทั้งลื่น และทั้งหนาว ตลอดฤดูกาล ก็จะเกิดความอับอาย เก็บเรื่องราวอันเจ็บปวดไว้กับตัวเองและครอบครัว

และก็ไม่มีข้าราชการทั้งจากไทยและจากสแกนดิเนเวีย พยายามศึกษาว่าคนเสียหายนั้นมีเท่าไรกันแน่

เพราะไม่อยากให้ความจริงมากระทบอุตสาหกรรมที่ทำผลกำไรให้อย่างงดงามที่สวีเดนและฟินแลนด์ จนขนาดคนว่างงานในพื้นที่เก็บเบอร์รี่กว่า 25% ไม่ต้องทำงานอะไรได้ทั้งปี (แต่ก็ไม่ยอมเก็บเบอร์รี่ขายให้บริษัทเด็ดขาด)
* * *


XXX: เง้อ........ แม่ผมก็ไปเก็บมา แถมยังจะชวนผมไปเก็บอีก

จรรยา: ตายแน่ ... มันเหนื่อยจริงๆ นะ

ทำใจทำงาน 70 วัน ตั้งแต่ตีสี่ถึงเที่ยงคืน ไม่ได้พัก เดินวันละเป็นสิบๆ กิโล และก้มๆ เงยๆ วันละพันครั้งได้เปล่าล่ะ

ไม่แนะนำจริงๆ ฮะ ... เพราะนอกจากหาเงิน 80}000 จากไทยเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายเดินทางไปเสี่ยงแล้ว เมื่อไปถึงก็จะถูกบีบให้เก็บเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายที่แคมป์และการเก็บอีก 70,000 กว่าบาท

กว่าจะเก็บค่าใช้จ่ายที่สวีเดนหรือฟินแลนด์ได้ก็เครียดกันทุกวันแล้ว จะเก็บเพื่อให้ได้อีก 80,000 เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายที่กู้จากเมืองไทยก็เครียดต่อ และก็เหนื่อยสุดๆ และเครียดต่อกับการเร่งเก็บในระยะสุดท้ายเพื่อหวังกำไรบ้าง

ถือว่าไปทำงานเพื่อใช้หนี้จริงๆ ฮะ .... ไม่มีใครไม่เครียดจากการทำงานเก็บเบอร์รี่
* * *

คนเก็บเบอร์รีไทยก็เหมือนกับคนงานพม่าที่แม่สอดเลยฮะ ...

ยิ่งพวกหัวหน้างานทำตัวเป็นมาเฟีย นี่คนงานหงอเลยฮะ ...

เนื่องจากสภาพปัญหาที่เลวร้ายที่คนงานเก็บเบอร์รี่ชาวไทยต้องพบเจอ สื่อและนักกิจกรรมจึงพยายามเดินทางไปแคมป์ (ที่ทุกบริษัทจะปิดเป็นความลับไม่เปิดเผยชื่อในสาธารณะ ต้องเสาะหากันเอง) แต่การเข้าแคมป์ก็ทำไม่ได้อีก ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ... คนงานไทยเหมือนเป็นนักโทษเลยฮะ ...

จะพูดคุยกับใคร พวกหัวหน้าและสายที่พามาก็จะพากันมาอยู่ใกล้ๆ ทำให้พูดไม่ได้ถนัดนัก หรือถ้าคนงานพูดปัญหา หัวหน้าก็จะสวนทันควันพร้อมสายตาขู่คนงาน ...

ส่วนนักข่าวหรือคนท้องถิ่นก็แยกไม่ออกว่าใครเป็นนายหน้าหรือใครเป็นคนถูกพามา ...

เรื่องราวคนงานเบอร์รี่ที่ออกสื่อจึงมักมาจากปากคำคนงานที่นายหน้าคัดเลือกตัวให้มาพูดกับสื่อแล้ว คนงานที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น ...

3 ปี กับการศึกษาเรื่องนี้ เห็นใส้เห็นพุงธุรกิจและก็ส่งสารคนไทยปีละหลายพันคนที่ถูก "การค้าฝัน" พามาทำงานฟรีราวกับทาส" เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของธุรกิจเบอร์รี่และการหล่อเลี้ยงธุรกิจค้ามนุษย์กินค่าหัวคิวแรงงานของเมืองไทย

* * *
รายงานชิ้นนี้เป็นรายงานที่ให้เห็นภาพเรื่องอุตสาหกรรมเบอร์รี่ชัดมาก ...

ตอนนี้จรรยา กำลังทำงานร่วมกับนักวิชาการและนักกิจกรรมที่ฟินแลนด์ เพื่อร่วมกันเขียนหนังสือ "เส้นทางเก็บเบอร์รี่ของคนงานไทยที่มาฟินแลนด์" อยู่ฮะ คิดว่าจะพยายามทำให้มันสามารถแปลเป็นภาษาไทยและพิมพ์ภาษาไทยไปด้วย

คนไทยไม่กันเท่าไรว่า กรณีคนงานเบอร์รี่นี่ได้รับความสนใจจากสื่อ นักวิชาการ นักกิจกรรมที่ฟินแลนด์มากพอสมควร

เพราะข้าราชการเมืองไทย "นอกจากช่วยโปรโมต" ให้อุตสาหกรรมเบอร์รี่ และเตรียมตัวหาเรื่อง "มาดูงาน" ที่สแกนดิเนเวียแล้ว ก็ไม่มีใครเลยคิดจะทำข้อมูลและสภาพความเป็นจริงของเรื่องนี้ออกมาเผยแพร่ให้คนสนใจเก็บเบอร์รี่ชาวไทยมีทางเลือกของข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์มาก

จรรยาได้รับเชิญไปนำเสนอปัญหาเรื่องนี้บ่อยครั้งกับสื่อและแม้แต่ข้าราชการกระทรวงแรงงานที่ฟินแลนด์ สวีเดน และ เยอรมัน ...

แต่กระทรวงแรงงานไทย รมต. กระทรวงแรงงานไทย ไม่เคยแม้แต่สักครั้งเดียวที่จะติดต่อมาเพื่อขอคำปรึกษาหรือขอข้อมูล ... ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวฮะ ... ทั้งๆ ที่ในแวดวงคนที่สนใจนี้ ต่างรู้ว่าเรื่องคนงานเบอร์รี่นี่ต้องถามจรรยาก็ตาม

กระทรวงแรงงานกลายเป็นที่ต่อรองเปอร์เซ็นต์เงินใต้โต๊ะระหว่างบริษัทจัดหางานกับนักการเมือง ข้าราชการ ในนามเพื่อนโยบายการค้ำประกันเงินกู้

เพราะอุตสาหกรรมนี้ต้องใช้เงินมหาศาล จะขนคน 10,000 คน มาสแกนดิเนเวีย ต้องมีเงินค่าใช้จ่ายอย่างต่ำคนละ 75,000 บาท คิดเป็นเงินก็ปีละ 750 ล้านบาทแล้ว เพื่อการใช้จ่ายจากเมืองไทย

ใครคำประกันล่ะ ก็กระทรวงแรงงานนี่ล่ะ ค้ำประกันเงินกู้ ธกส. หรือออกนโยบายให้ ธกส. ปล่อยเงินกู้เหล่านี้ ...

ใครใช้หนี้ล่ะ ...ก็คนหมื่นคน ...นี่ล่ะ

ทุกครั้งที่คน "หมื่นคน" ไม่ได้หอบเงินกลับมาใช้หนี้ได้หมด ...พวกเขาต้องหาเงินจากเมืองไทยมาใช้หนี้ต่ออีก ... บางคนเป็นปีหรือสองปีกว่าจะใช้หนี้เบอร์รี่เพียงปีเดียวหมด

ยิ่งถ้ามากันครอบครัวล่ะ 2 คน หรือ 3 คน ความเสี่ยงหนี้สูง ก็จะเยอะขึ้น

ถามว่าคนงานมีข้อมูลแค่ไหนก่อนตัดสินใจ นอกจากสายนายหน้าจะยุทุกวันว่า "ปีนี้ดี ปีนี้ได้แน่"

และกระทรวงแรงงานที่ไม่สนใจปัญหา ก็จะคอยประกาศข่าวช่วยบริษัทเมื่อหาคนเก็บไม่ได้ตามโควต้า ... และทำหน้าที่รับประกันให้บริษัทจัดหางาน

ทั้งนี้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องและได้ประโยชน์ไม่เคยมีใคร "รับผิดชอบ" คนงานที่เสียหายได้เลย รวมทั้งบริษัทที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือ "บริษัทรับซื้อ" ในสองประเทศนี้

อ่านรายงาน "“เจาะลึกและตีแผ่ขบวนการพาคนไทยมาเก็บเบอร์รี่
ที่สวีเดน ฟินแลนด์”
* * *


เตรียมพร้อมไปเก็บผลไม้ที่สวีเดน เตรียมการป้องกันปัญหาแล้วหรือยัง?

พัชณีย์ คำหนัก
ผอ.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย 
ที่มา Thai Labour Campaign

ณ เวลานี้ คนงานไทยพร้อมแล้วสำหรับฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลเบอรี่ประจำปี 2556 ของประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ เพราะล่าสุด มีคนงานไทยได้รับอนุญาตให้ไปทำงานเก็บผลเบอรี่ที่สวีเดนแล้วจำนวน 6,000 คน และยังมีคนไทยที่ได้รับวีซ่านักท่องเที่ยวจากสถานทูตสวีเดนในกรุงเทพฯ แล้วราว 4,000 คน ตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงมิ.ย. แต่ไม่ทราบว่าในจำนวนนี้ ไปเก็บผลไม้ป่าจำนวนกี่คน ทั้งนี้ คนที่ไปทำงานเก็บผลไม้ป่าจำนวนมากมักถือวีซ่านักท่องเที่ยว ส่งผลให้มีคนงานเป็นจำนวนมากแข่งขันกันเก็บเบอรี่ แบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้คุ้มค่ากับค่าบริการที่จ่ายให้แก่บริษัทจัดหางาน 70,000-80,000 บาท รวมทั้งยังต้องออกค่าใช้จ่ายในระหว่างทำงาน เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำมัน อีกหลายหมื่นบาท (รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 150,000 บาท) และเช่นเดียวกันคนงานจำนวนหนึ่งจากอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานีเพิ่งออกเดินทางไปทำงานที่ประเทศฟินแลนด์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมานี้ จากจำนวนทั้งสิ้นที่ได้รับอนุญาตประมาณ 2,000 คน และจะทยอยเดินทางไปยังสวีเดนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ก่อนหน้านี้ไม่นาน อาจจะด้วยความบังเอิญ เว็บไซด์ข่าวภาษาสวีดิช Aftonbladet พาดหัวว่า เจ้าแห่งธุรกิจเบอรี่ : ผมถูกหุ้นส่วนโกง (Head line: King of Berries: I was cheated by my companions) กล่าวคือ นาย Ari Hallikainen อายุ 52 ปี เจ้าของบริษัท ลอมโจ้ บาร์ (Lomsjö Bär) ประเทศสวีเดน ที่หอบเงินหนีจำนวนหลายล้านบาทมายังเมืองไทยและทิ้งคนงานไทยเก็บผลไม้ป่าเมื่อปี 2553 จำนวน 156 คน โดยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย ถูกตำรวจไทยจับกุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และถูกคุมขังที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อรอส่งกลับประเทศสวีเดน (ข่าวตีพิมพ์ลงวันที่ 4 ก.ค.56. ที่มา: เว็บไซด์ Aftonbladet,http://www.aftonbladet.se/nyheter/article16323048.ab ) ผู้เขียนใคร่ถามกระทรวงแรงงานว่า คิดอย่างไรกับข่าวการจับกุมเจ้าของธุรกิจผลไม้เบอรี่กรณีนี้?

หลังดำนาเสร็จตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป คนงานไทยที่มีอาชีพทำนา ก็จะเตรียมตัวออกเดินทางอย่างไม่ชักช้า เพื่อเข้าทำงานในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลเบอรี่ตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฎาคมถึงสิ้นเดือนกันยายน ซึ่งต่างกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อจ่ายเป็นค่านายหน้าแก่บริษัทจัดหางานจำนวน 75,000 บาท เข้ารับการอบรมจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เซ็นสัญญากับบริษัทเป็นที่เรียบร้อย (สัมภาษณ์คนงานไทยไปทำงานสวีเดน ม.2 อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี. 12 ก.ค. 56 โดยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย)

จากบทเรียนที่ผ่านมา ประเด็นปัญหาการเอารัดเอาเปรียบคนงานไทยเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดน ที่ทำให้คนงานขาดทุนเป็นหนี้จำนวนมากและยากจนนั้น มี 4 ประการ คือ

1. การไม่มีหลักประกันว่า คนงานจะมีรายได้ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายของสวีเดน (ประมาณเดือนละเกือบ 80,000 บาท) และมีกำไรกลับมา ตามที่กรมการจัดหางานชักชวน เนื่องจากเคยเกิดปัญหานายจ้างโกงค่าจ้าง ไม่จ่ายค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนด หรือตามที่ตกลงกับลูกจ้างไว้ ในช่วงเวลาที่คนงานใกล้จะกลับบ้านเต็มที นอกจากนี้ ปัญหาจำนวนคนเข้าไปเก็บมีจำนวนมาก โดยเฉพาะคนงานที่ไปในฐานะนักท่องเที่ยวนับหมื่นคน พร้อมๆ กับที่คนงานไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า จะมีผลไม้เพียงพอสำหรับทุกคนหรือไม่ พอที่จะได้กำไรกลับมาไหม โดยที่การเก็บไม่ต้องอาศัยประสบการณ์อะไรมากนัก อีกทั้งการที่ผู้รับเหมาช่วง ปล่อยคนงานให้โดดเดี่ยว ไม่ดูแลหาผลไม้ป่าตามป่าเขาต่างๆ ผลักภาระให้คนงานไปหาเอง ซึ่งเดินทางออกไปไกลนับร้อยกิโลเมตร

2. การบริหารงานของนายจ้างแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน นายจ้างบางแห่งบังคับให้คนงานต้องกลับมานอนในแค้มป์ ไม่อนุญาตให้พักตามเขา ซึ่งคนงานบ่นว่า เดินทางไปนับร้อยกิโลเมตรและกลับดึกมาก การโอนเงิน หักเงินค่าใช้จ่ายของคนงานต้องผ่านธนาคารที่เมืองไทยก่อน การแลกเปลี่ยนเงินตราที่สร้างภาระให้แก่คนงาน การค้ำประกันเงินกู้ของนายจ้าง/นายหน้าไม่เหมือนกัน มีการเซ็นสัญญาฉบับที่ 2 ที่ปลายทาง การหักค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่ต่างกันบ้าง การจัดหาความสะดวกสบายที่พัก รถ เช่น รถเสียบ่อย ทำให้เสียเวลาทำงาน การหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง แต่สิ่งที่คล้ายกันคือ ชั่วโมงการทำงาน สภาพการทำงานที่หนัก พักผ่อนน้อย เร่งงาน อาหารการกินซ้ำๆ เป็นต้น

3. คนงานไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่สำคัญและจำเป็นสำหรับตัดสินใจที่จะไปทำงานต่างประเทศ เช่น การได้รับแจ้งถึงจำนวนคนไปทำงาน ประมาณการจำนวนผลไม้ แต่สิ่งที่จูงใจให้ไปคือ การบอกว่าจะได้เงินกลับมาหลายหมื่นจนถึงแสนบาท และการเลือกรับข้อมูลตัวอย่างบุคคลที่ประสบผลสำเร็จเท่านั้น โดยไม่ตระหนักถึงปัญหาและบทเรียนที่ผ่านมา ทั้งนี้ คนงานไม่มีทางเลือกของอาชีพอื่นที่ดีกว่า จึงต้องออกไปแข่งขันกันเก็บผลไม้ และไปอีกเป็นครั้งสอง ครั้งที่สาม อย่างไรก็ตามยังมีคนงานบางส่วนที่เคยไปแล้วผิดหวังกลับมา ไม่ประสงค์จะเดินทางอีก เพราะมองว่าไม่คุ้มค่าที่จะแบกความเสี่ยงนี้

4. นโยบายส่งออกแรงงานไทย เชิญชวนคนงานไปทำงานเก็บเบอรี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ขาดการเพิ่มมาตรการดูแลสิทธิประโยชน์ของคนงาน ไม่มีการบังคับให้บริษัทจ่ายค่าชดเชย และค่าจ้างให้ครบตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่ประกันไว้ และไม่มีนโยบายปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานไทยในต่างประเทศ ขาดการตรวจสอบ ลงโทษบริษัทจัดหางาน นายจ้างที่ทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ อนุญาตให้บริษัทจัดหางานที่เคยถูกคนงานหลายร้อยคนร้องเรียน ขึ้นศาล ดำเนินการจัดหางานเช่นเคย ซึ่งสะท้อนถึงปัญหากระบวนการจัดหางานที่ไม่เป็นธรรม และสัญญาจ้างที่คนงานยังเสียเปรียบอยู่มาก

เฝ้าระวังการละเมิดสิทธิแรงงาน

กรณีฟินแลนด์

สำหรับคนงานไทยที่ไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศฟินแลนด์ หากมีปัญหาถูกนายจ้างเอาเปรียบละเมิดสิทธิในเรื่องของสภาพการทำงาน เงินเดือน สามารถปรึกษาทนายความคุณ Ville Hoikkala โดยส่งข้อความ sms พิมพ์คำว่า Thai และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ ส่งไปที่หมายเลขโทรศัพท์ +358 50 407 2829 จากนั้นทนายความจะติดต่อกลับไปเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (ที่มา : http://villehoikkala.com/lakipalvelu-ville-hoikkala/en/ )

กรณีสวีเดน

คนงานไทยสามารถติดต่อสหภาพแรงงานคอมมูนัลที่มีสาขาอยู่ทุกเขตเทศบาล โดยโทรศัพท์ติดต่อในเวลาทำการ ได้ที่ 010-442 7000 แฟกซ์ 08-31 87 45 หรือติดต่อแผนกต่างๆ ดังปรากฏในเว็บไซด์www.kommunal.se/avdelningar

หรือติดต่อร้องทุกข์ที่สถานทูตไทยประจำประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ ซึ่งคนงานมักมีประสบการณ์ร้องเรียนหน่วยงานดังกล่าว และก่อนที่จะเดินทางกลับ คนงานต้องทราบถึงสิทธิและร้องเรียน เรียกร้องสิทธิตามกฎหมายของประเทศนั้น เพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับคนงานโดยรวม


Date post : 16/07/2556