โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
15 กรกฎาคม 2556
15 กรกฎาคม 2556
หมายเหตุไทยอีนิวส์ :จรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมที่อยู่ระหว่างลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ เปิดตัวหนังสือ E-book ชื่อ"เปลื้องผ้าและไม่ไทยเลย" เราได้สัมภาษณ์ว่า ทำไมจำเป็นต้อง"แรง"ขนาดนั้น..
1.หน้าปกนี่แรงไปหรือเปล่า ไม่กลัวว่ามั นจะออกแนวอนาจารเหรอ แต่ภาพนู้ดหน้าปกนี่มันไม่ค่ อยจะมี Sex appeal นะ
คิดว่ามันแรงอยู่นะ …และบางคนว่ าน่ากลัวด้วย ..ฮา ...
แต่ดังที่คำถามก็ได้ชี้ให้เห็ น คือ มันไม่มี Sex appeal ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของทั้งคนเขี ยนและศิลปินวาดภาพ เรามองว่าการเปลือยของหญิงไม่ จำเป็นต้องเพื่อกระตุ้นกามารมณ์ หรือเพื่อเป็นวัตถุทางเพศเท่านั ้น แต่เปลือยเพื่อยืนยันในความเป็ นมนุษย์ที่เป็น "เพศหญิง" ที่ไม่ได้ถูกห่อหุ้มด้ วยขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม จารีตและค่านิยม ที่มันมีมากมายจนคุมพวกเธอจนมิ ดหัว ที่ทำเอาหญิงจำนวนไม่น้อยรู้สึ กอึดอัดจนแทบหายใจไม่ออก
2.จริงๆแล้วหนังสือเล่มนี้มันต้ องการสื่ออัลไล..?
ขอตอบยาวนะฮะ ...
มันคงเป็นการนำเสนอการตกผลึ กทางความคิดของหญิงวัยเกือบจะ 50 ปีนี่ล่ะ ... ที่ผ่านการใช้ชีวิต ที่ไม่ไร้ความรักหรือเซ็กส์ และการใช้ชีวิตที่ไม่ได้จำกัดตั วอยู่ตามกรอบประเพณีไทยอย่างเข้ มข้นมาร่วมสองทศวรรษ จนท้ายที่สุดหลังจากผ่านความทุ กข์ สุข เศร้า เหงา อกหัก รักคุด หรือทำให้คนอื่นอกหักปางตาย – ก็มาได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า เรื่องวิถีเพศหรือเซ็กส์เป็นเสรีภาพของมนุ ษย์ทุกคน และวิถีเพศมันลื่นไหลได้ และหญิงมีสิทธิที่จะเรียนรู้หรื อเปิดโอกาสให้ตัวเองมีความสุขกั บชีวิตรักและชีวิตส์เซ็กส์ได้ ตามที่ตัวเองปรารถนา ไม่ใช่เพียงเพื่ อตามความปรารถนาของครอบครั วและสังคมจารีตตอแหลที่หน้าไหว้ หลังหลอกเท่านั้น
หนังสือเล่มนี้เขียนอย่างไม่มันเป็นเรื่องทัศนคติเรื่องเพศ เซ็กส์ ความรักและการใช้ชีวิตขบถของตัเซนเซอร์ฮะ และก็ทั้งโป๊และเปลือยจริงๆ ล่ะ ทั้งด้วยภาพ 19 ภาพ และตัวอักษรกว่า 200 หน้า ... ซึ่งอาจจะเป็นหนังสือที่แตกต่ างจากข้อเขียนที่คนอ่านงานเขี ยนของ จรรยา ยิ้มประเสริฐ เคยคุ้นชิน ...
แต่ในท้ายที่สุดในฐานะคนเขียนหนังสือที่ปฏิเสธการเซ็นเซอร์ ก็ขอยืนยันว่ามันไม่ควรจะติ ดเรตอะไรทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็น "เรตติ้ง" ล่ะก็ยินดีต้อนรับฮะ ... ฮา
ที่ลุกขึ้นมาตัดสินใจเขียนและตีพิมพ์เรื่องที่ยัง sensitive อยู่มากในสังคมไทย ก็เพราะคิดว่าเรา ..หญิงและชาย, หนุ่มหรือสาว, เด็กหรือแก่ในสังคม ควรจะสามารถวิจารณ์อย่ างตรงไปตรงมาต่อการพยายามเข้ ามาของผู้คุมและกำกับวัฒนธรรมที่หั วเก่าและอนุรักษ์นิยมทั้งหลาย ที่ต้องการควบคุม กำกับและชี้นำชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะ "หญิง" ให้อยู่ในแบบแผนของสังคม วัฒนธรรม ตามวิถีเพศแบบไทยๆ (ซะที่ไหนกัน) และ "เรา" ควรจะสามารถส่งเสียงกันได้ เสียทีว่า "เฮ้ย นี่มันศตวรรษที่ 21 แล้วนะ อย่าทำกับกูราวกับว่ากูเป็ นทาสในยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่ไม่ มีอินเตอร์เนตอยู่เลย"
สังคมไทยมันทำร้ายหญิงและชายกั นมากเกินไปและมานานแล้ว โดยเฉพาะการกระทำให้เยาวชนคนหนุ่มสาว อนาคตของชาติต้องอยู่ ในกรอบ ในเครื่องแบบ และถูกจ้ องจับผิดตลอดเวลา …เยาวชนที่จะกลายเป็ นคนวัยกลางคนและคนวัยแก่ที่มีปั ญหาเพราะการถูกปิดกั้น กดข่มและถูกครัวครอบความเป็น "หญิงดี" เป็น "ชายแกร่ง" โดยไม่เปิดให้เรี ยนรู้และเตรียมตัวกับเรื่องเพศ เซ็กส์และความสัมพันธ์ …
ซึ่งมั นเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ เพราะเรื่องเซ็กส์และการใช้ชีวิ ตมันไม่ใช่เป็นเรื่อง "ธรรมชาติ" แต่มันเป็นเรื่องของการ "สั่งสมบทเรียนและพั ฒนาการจากการเรียนรู้" มันจึงเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริ มให้เรียนรู้และเตรียมรับมืออย่ างมีวุฒิภาวะตั้งแต่ย่างเข้าสู่ วัยรุ่น - ไม่ใช่เพียงแค่การสั่งสอนเรื่ องการป้องกันเรื่องโรคทางเพศสั มพันธ์และการห้ามการท้องก่อนวัย ...ที่ไม่เคยประสบความสำเร็จ
หนังสือเล่มนี้จึงต้องการสื่อกับสังคมว่า ขอให้คนในสังคมไทย (และสังคมจารีตชายเป็นใหญ่ทั้งหลาย) ได้ใช้ชีวิตตามวัยกันอย่างเสรีเถิด แม้ว่าจะคนเดินผิดพลาดและหลงทางกันไปบ้าง ... ก็ถือเป็นกระบวนการแห่งเรียนรู้และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็งและแข็งแกร่งซึ่งมั
ผู้ใหญ่ไม่ควรกังวลมากไป ปล่อยลูกหลานบ้างเถอะนะ และทำตัวเป็นผู้ใหญ่ที่น่ารัก เป็นอ้อมกอดอันอบอุ่ นยามพวกเขาอกหักรักคุด และช่วยให้กำลังใจและคำปรึ กษายามชีวิตรักไม่สมหวัง ... ไม่ต้องคอยกำกับเส้นทางชีิวิ ตให้กับคนในสังคมราวกับทุกคนเป็ นทหารเกณฑ์หรอก
สังคมไทยควรจะผ่อนปรน เปิดใจ และปล่อยให้ทุกคนสามารถกำกับเส้ นทางชีวิตของตัวเองกันได้แล้ว และนอกจากนี้ราคาที่ต้องจ่ายเพื ่อการปิดกั้นและล้อมคอกคนในชาติ เรื่องเซ็กส์ก็ไม่น้อยนะฮะ ดังที่เขียนไว้ในคำนำว่า ...
… น่าเศร้ายิ่งนักว่า แม้จะทศวรรษที่ 21 แล้วก็ตาม เฃ็กส์ที่เป็นเรื่องของคนสองคน หรือของคนหลายคน - ไม่ว่าจะระหว่างคนเพศเดียวกันหรือต่างเพศ - ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องวุ่นวาย มากพิธีรีตรอง มีการประเมินค่า ตีราคา และเต็มไปด้วยการจัดการของคนแวดล้อมหลายคน ทั้งจากนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษา กระทรวงการกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ สำนักนายกรัฐมนตรี และอีกมากมายหลายกรมกอง
งบประมาณมหาศาลของทั้งครอบครัวและของชาติ ถูกใช้ไปกับการจัดการเซ็กส์ให้อยู่ในกรอบ ให้อยู่ในคอก ที่มุ่งเน้นการรักษาภาพลักษณ์ ภาพพจน์ พรหมจรรย์เป็นตัวตั้ง(ที่ไม่เคยสำเร็จ) มากกว่าจะส่งเสริมให้หญิงชายมีความสุขกับเซ็กส์ พร้อมไปกับการรับผิดชอบต่อตัวเอง คู่ครอง และลูกหลานให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
3.ที่ว่า"ไม่ไทยเลย"นี่มันยังไง เป็นไทยมันไม่ดีตรงไหน ทำไมไม่ภาคภูมิใจในความเป็นไทย ยังเป็นคนไทยอยู่รึป่าว
คำถามที่มาพร้อมกับประเด็นร้ อนในประเทศไทยเลยนะฮะ
20 ปีที่เดินทางมากมายหลายสิ บประเทศ จรรยามักจะถูกแซวบ่อยว่า "มึงไม่ไทยเลย" และตลอดช่วง 3 ปีที่ชีวิตเปลี่ยน และใช้ชีวิตต่างแดนในฐานะคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็ นพวก "ล้มเจ้า" ทำให้ต้องทิ้งงานที่เคยทำและตัดสินใจว่าจะขอ "เขียน" จึงลุ กขึ้นมาเขียนหนังสือวิพากษ์ การเมืองและสังคมไทยอย่างจริงๆ จังๆ
ยิ่งเขียนก็ยิ่งเห็นปัญหาหลายตั วของไทยที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ ยน และแก้ไข ก็เลยยิ่งต้องเขียนมากขึ้น ...ฮา...
แต่การจะเขียนตามความคิดตั วเองจริงๆ มันก็ต้องไม่สนใจเรื่ องการเซนเซอร์(ที่ยังรุ นแรงมากทางเมืองไทยไม่ว่ าจะทางด้านการเมืองหรือทางสั งคมโดยเฉพาะเรื่องเซ็กส์) หรือต้องมานั่งห่วงกั งวลและหวาดวิตกว่าครอบครัวจะคิ ดยังไง เพื่อนฝูงจะว่ายังไงบ้าง หรือสังคมจะตอบรับอย่างไร ...
ตรงนี้อาจจะเป็นการกระทำที่ ทำให้จรรยาถูกจัดประเภทว่า "ไม่ไทยเลย" และถูกกระแหนะกระแหนได้ว่า "ยั งเป็นคนไทยหรือเปล่า"
ตรงนี้อาจจะเป็นการกระทำที่
แต่ก็ยืนยันฮะว่า "ความเป็นคนไทย" เป็นชาติกำเนิดที่จรรยาภูมิใจมาก ไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องเสี ยหาย และการลุกขึ้นมาพูดถึงปัญหาเมื องไทยอย่างตรงไปตรงมา ก็เพราะต้องการตอบแทนบุญคุณแผ่ นดินเกิดที่ดีที่สุดที่ตั วเองอยากทำและคิดว่ามีศักยภาพที ่จะทำ
นอกจากนี้ การเขียนความคิดไม่ว่าจะด้ านแรงงานหรือการเมือง หรือในเรื่องเกี่ยวกับเซ็กส์เล่ มนี้ ก็ทำให้เห็นจุดแข็งของความเป็ นไทยเยอะฮะ และก็เห็นจุดอ่อนมากเช่นกัน และไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาล ข้าราชการและสังคมไทย พากันเชิดชูแต่จุดแข็งกันอย่ างตะบี้ตะบันและไม่บันยะบั นราวกับคนตาบอดข้างหนึ่ง และพากันปิดกั้นการพูดถึงจุดอ่ อนกันอย่างเอาเป็ นเอาตายและโหดร้ายป่าเถื่อนเช่ นที่เป็นอยู่ในเมืองไทยตอนนี้
ถ้าไม่คิดว่ายังมีความหวังกับประเทศไทย และยังอยากจะทำงานเพื่ ออนาคตของประเทศไทย ก็คงถอดใจ ถอดความเป็นไทยทิ้งไปและขอสั ญชาติอื่นไปนานแล้วล่ะฮะ
4.ไปลี้ภัยการเมืองมา 3 ปีสุขสบายดีไหม เมื่อไหร่จะกลับบ้าน
3 ปีนี้อยู่ด้วยพลังใจที่คิดว่า ยังดีกว่าอยู่ในคุก 112 ที่เมืองไทย เพราะอย่างน้อยแม้ลำบากกายแต่มี อินเตอร์เนตให้เขียนความคิดได้ อย่างเสรี และไม่ต้องกลัวว่าจะถูกคุ กคามอย่างใดบ้างจากคนคลั่งเจ้ าที่เมืองไทย ที่มักจะดูบ้าคลั่ งและป่าเถื่อนราวกับคนไร้สติ ที่คงจะอีกนานกว่าจะสามารถคุยกั นได้อย่างอารยชน
เมื่อไหร่จะกลับบ้าน ... อืม ... อืม ... ก็คงเมื่อสามารถรณรงค์ให้มีการยกเลิกหรือปรับแก้ กฎหมายมาตรา 112 ได้สำเร็จ จนมันไม่สามารถถูกใช้มาทำร้ ายหรือทำลายใครก็ได้ ด้วยข้อกล่าวหาลอยลม ที่แม้แต่ตำรวจก็ไม่สามารถจะปฏิ เสธที่จะรับแจ้งความ และเมื่อศาลไทยปฏิบัติกับนั กโทษคดี 112 ด้วยวิถีความคิดแห่งกระบวนการยุ ติธรรมสากลที่ว่า "ผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิ ดจริง"
5.ทำไมไม่ทำออกมาเป็นหนังสือเล่ มหละ แล้วซื้ออนไลน์นี่ต้องทำไง มันยุ่งยากนะ
คนเขียนหนังสือทุกคนก็ คงอยากจะพิมพ์งานออกมาเพื่อให้ ตัวเองได้ดมกลิ่นตัวอักษร และพกพาจับต้องได้ทุกเมื่อ ... ก็เสียดายมากนะฮะ ที่หนังสือที่สวยด้วยตัวอักษร ด้วยภาพประกอบและด้วยการจัดรู ปเล่มเล่นนี้ไม่สามารถจัดพิมพ์ ได้ และก็จำต้องทรมานคนอ่านด้ วยการต้องอ่านทางหน้าจออิ เลคทรอนิกส์กันอย่างเดียว
การจะเสนอจัดพิมพ์กับสำนักพิมพ์ ใหญ่ ก็เช็คแล้วว่าจะได้ค่าคนเขี ยนเพียงแค่ 10% ส่วน 90% สำนักพิมพ์เอาไปเพื่อใช้ในการพิ มพ์ การประชาสัมพันธ์ และค่าความเสี่ยง ถ้าหนังสือขายไม่ได้ ... มันดูน้อยนิดมากเกินไปเมื่อเที ยบกับพลังที่ทุ่มเทไม่ใช่ เฉพาะของตัวเอง แต่ของศิลปินและเพื่อนฝูงอีกกว่ า 30 คนที่ช่วยกันตรวจปรู๊ฟ ติ ชม และให้คำแนะนำจนมาเป็นหนังสื อเล่มนี้ … มันจึงรู้สึกว่า 10% ไม่ยุติธรรมกับคนเขียนหนังสื อมากๆ
ครั้นจะพิมพ์เองก็ติดขั ดทางงบประมาณ และก็มีบทเรียนจากการลงทุนจัดพิ มพ์ "แรงงานอุ้มชาติ" เมื่อปีที่แล้ว (ที่ยังไม่สามารถใช้หนี้ที่ยื มมาจัดพิมพ์) โดยเฉพาะในสภาพที่ คนเขียนอยู่ต่างแดนและต้องลี้ภั ยกฎหมายมาตรา 112 เช่นนี้ มันได้สร้างความยุ่งยากให้กั บเพื่อนฝูงทางเมืองไทยพอสมควร และขณะเดียวกัน จนบัดนี้ผ่านไปจะครบปีแล้ว คนเขียนก็ยังไม่ได้รับเงินค่ าขายหนังสือที่ฝากขายเลย ... นอกจากรายได้ จากการขายตรงและการสั่งซื้อกั นมาทางไปรษณีย์เท่านั้น
ทำให้แปดเดือนที่รอเงินจากหนั งสือแรงงานอุ้มชาติ และทุ่มเวลากับการเขียนเรื่อง "เปลื้องผ้าและไม่ไทยเลย" มันเหนื่อยและลำบากอย่างสาหั สจริงๆ และก็ส่งผลให้เกิดวิกฤตชีวิ ตและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้ งใหญ่ในชีวิตอีกครั้งหนึ่ง - หลังจากออกจากเมืองไทยเมื่อ 24 เมษายน 2553
แต่ก็มีกระแสเรียกร้องกันมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่เปิดตัวว่าอยากให้จั ดพิมพ์เป็นเล่ม ... ตรงนี้ก็ขึ้นกับยอดขายทางอี บุ๊คด้วยละฮะ ถ้าขายได้เงินเยอะพอและน่าจะเสี ่ยงลงทุนจัดพิมพ์เองอีกครั้ง ก็อาจจะเปลี่ยนใจก็ได้ฮะ
ตอนนี้จึงขอขายในรูปแบบ E-book ไปก่อน กับร้านออนไลน์เล็กๆ ที่ชื่อ "BookSoHo" ที่เพิ่งเปิดตัว และยังไม่มีหนังสือให้เลือกอ่ านมากนัก จึงอาจจะทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่ ดูอลังการ์งานสร้างหรือถู กโปรโมตอย่างอย่างหวือหวาเช่ นการขายกับสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ โตและมีสายป่านยาวไกลกว่า
แต่ก็สบายใจกับการสู้ไปด้วยกันกับร้านขายหนังสือออนไลน์ ที ่มุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่ งขายงานวรรณกรรมที่คนอ่านเข้าถึ งและราคาไม่แพงมาก โดยไม่ได้มุ่งผลกำไรเกินไป และร่วมแรงร่วมใจในทำงานกับนั กเขียนในฐานะมิตรที่เข้าใจ ...
ถือว่าเป็นการเดินไปด้วยกัน เพื่ อสร้างการเปลี่ยนแปลงในโลกการอ่ านหนังสือ เพื่อเปิดเสรีภาพทางการเขี ยนและการคิด และเปิดพื้นที่ใหม่ให้กับคนเขี ยนหนังสือและคนต้องการอ่านงานวรรณกรรม
ถือว่าเป็นการเดินไปด้วยกัน เพื่
การซื้อออนไลน์อาจจะยุ่งยากนิ ดหน่อย แต่คนเขียนไม่เสี่ยงมากฮะ
การซื้อหนังสือทาง E-book อาจจะยุ่งยากกว่าการเดินเข้าร้ านหนังสือ หยิบหนังสือและจ่ายเงินตรงนั้ นเลย ... เรื่องนี้คนเขียนหนังสือที่ทุ นน้อย และไม่โด่งดังก็คงต้องขอความกรุ ณาผู้อ่านว่า เราเดินกันคนละครึ่งทางนะฮะ – อาจจะยุ่งยากกันนิดหน่อยก็ขอให้ ถือว่า เมื่ออยากอ่านหนังสือ ก็ช่วยคนเขียนหนังสือด้วยก็แล้ วกันนะคะ ... ขอบคุณมากๆ
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อ "เปลื้องผ้าและไม่ไทยเลย" ราคาเล่มละ 120 บาท หาซื้อได้ที่ที่ร้านหนังสือออนไลน์ BookSoHo โดยมีคำแนะนำการสั่งซื้อที่นี่ "ขั้นตอนการสั่งซื้อ"
--------------------------
บทฝากทิ้งท้ายคือ
บทฝากทิ้งท้ายคือ
เมื่อเห็นปกหนังสืออันเปล่าเปลื อย
มันอาจดูหน้ากลัว
แต่จงอย่ากลัวที่จะมองมัน
เพราะไม่ง่ายตั้งแต่แรกแล้วที่ คนเขียน
จะลุกมาเปลื้องผ้าและเล่าเรื่ องราวอย่างตรงไปตรงมา
เรื่องราวแห่งการเดินทางเพื่ อความนับถือตัวเอง
ที่ตลอดเส้นทางจำต้องค่อยๆ
ปลดเปลื้องมายาคติและจารีตวิถี
เรื่องเพศ เซ็กส์ และชีวิตคู่ของสังคมไทย
ที่ดำรงควบคู่มาพร้อมกับทัศนคติ "ได้-เสีย"
และค่านิยมแห่งการ “ซื้อ-ขาย" “ตั้งค่า-ตีราคา"
ที่พันธนาการทั้งผู้หญิง (และผู้ชาย)
ให้อยู่กับวิถีสังคมชนชั้นที่(ย ัง) เหยียบย่ำหญิง
เป็นสังคมหน้าไหว้หลังหลอก
ที่ตั้งอยู่บนราคาที่หญิงต้องจ่ าย
หรือต้องหาเงินทุกวิถีทางเพื่ อมาค้ำจุน
ไม่ว่าจะด้วยแรงกายหรือร่างกาย
เพื่อสร้างหลักประกันสังคมให้ ครอบครัว
ที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างพอใจ
เพราะจะสามารถใช้เงินภาษีสร้ างวังเวียงอันโอฬารได้ต่อไป
โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับการต่ อรองของพลเมือง
เปลื้องผ้าและไม่ไทยเลย
คือเรื่องราวของหญิงหลายคน
ที่ปฏิเสธวิถีชีวิตภายใต้จารี ตและค่านิยมอำมหิต