2 ก.ย. 13

วียดนามไม่น่าทำเลย

การปิดกั้นเสรีภาพ ในท้ายที่สุดจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน





ประชาไท " เวียดนามสั่ง ห้ามใช้เน็ตคุยเหตุการณ์บ้านเมือง เริ่ม ก.ย.นี้"

"ขณะที่ สหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย หรือ the Asia Internet Coalition ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมไอที ที่มีกูเกิล และเฟซบุ๊ก รวมอยู่ด้วย ระบุว่า ในระยะยาว กฤษฎีกานี้จะยับยั้งการเกิดนวัตกรรมและกีดกันธุรกิจต่างๆ จากการดำเนินการในเวียดนาม"

เวียดนามออกกฎห้ามผู้ใช้เน็ตพูดคุยเหตุการณ์บ้านเมือง และให้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตต่างชาติวางเซิร์ฟเวอร์ในเวียดนาม มีผลบังคับใช้แล้ว ก.ย.นี้
รัฐบาลเวียดนามออกคำสั่ง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "กฤษฎีกา 72" (Decree 72) มีเนื้อหา ห้ามการใช้บล็อกและโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารบ้านเมือง โดยให้ใช้เฉพาะพูดคุยเรื่องส่วนตัวเท่านั้น รวมถึงห้ามการเผยแพร่เนื้อหาที่ต่อต้านรัฐบาลเวียดนาม หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติบนออนไลน์ และยังกำหนดให้บริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตวางเซิร์ฟเวอร์ในเวียดนามด้วย
 * * *

เรื่อง 112 เนี่ยใช้กันอยู่นะฮะในช่วงสงครามเย็น โดยเฉพาะในช่วง 6 ตุลาฯ 19 และหลัง 6 ตุลาฯ

ได้เห็นเอกสารคำพิพากษานี้ ก็เลยเอามาแชร์กันต่อฮะ

เสรีภาพในการคิด ในการเขียนจะถูกปิดกั้น ถ้า 112 ยังสามารถใช้ได้อย่างพร่ำเพรื่อ

ยกเลิก 112 ซิ ประเทศไทยจะรู้จักกับคำว่า "เสรีภาพ" กันได้บ้างเสียที

คำพิพากษาฎีกา ๘๖๑/๒๕๒๑ การเผยแพร่บทความ 'อมนุษย์' เป็นความผิดตามมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา

16 July 2013 at 15:20
ตีพิมพ์ใน คำพิพากษาฎีกา ประจำพุทธศักราช ๒๕๒๑. ตอน ๙, (จิตติ ติงศภัทิย์ บรรณาธิการ), เนติบัณฑิตยสภา, หน้า ๑๓๒๗-๑๓๓๕.


                                               คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๖๑/๒๕๒๑

                                                                     อัยการกรมอัยการ โจทก์

                                                                     นายเล็ก ลักษณะผล จำเลย

     ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ร่วมเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๔๘ วรรคสอง จำคุกจำเลยผู้ประพันธ์ ๒ ปี จำคุกจำเลยผู้เป็นบรรณาธิการ ๑ ปี รวมกับโทษที่รอไว้อีก ๒ เดือน ริบเอกสารของกลางทั้งสิ้น
 ที่มา และ อ่านต่อ
* * *

คนเจอ 112 แล้วชีวิตมันยุ่งยากขึ้นเยอะ
มันทำให้ยุ่งยาก ...
เพื่อทำให้คนกลัวกฎหมายตัวนี้ด้วยล่ะ

แต่ไม่เป็นไร รู้ว่าอยู่ในจุดตั้งตั้งรับ
และทำงานรุกไปด้วยพร้อมๆ กัน
อาจจะหนักและเหนื่อยและยุ่งยากฉิบ
แต่ก็จะอดทน ก็จะสู้

ถือว่ามันเป็นความท้าทาย
ถือว่ามันเป็นการใช้ชีวิต
ถือว่ามันเป็นการต่อสู้

ยังไงๆ กูก็จะไม่คลานอย่างหมาเข้าไปขอขมา
เพื่อให้คนพากันเห็นอกเห็นใจ
พากันลูบหัวลูบหลัง
และแสดงความเมตตาสงสาร

คนไทยมักจะหมั่นไส้คนสู้คน
และจะแสดงการเมตตาสงสาร
และให้ความสงเคราะห์คนไม่มีทางสู้
คนที่ยอมจำนน

หมั่นไส้กูได้
(กูก็น่าหมั่นไส้อยู่ไม่น้อยจริงๆ ล่ะ ... ฮา)
แต่อย่ามาสงสาร

แต่ถ้าจะร่วมสู้กับความป่าเถื่อนของระบบไทย
จากพวกถือกฎหมายในมือ
พวกที่ได้ที่ขี่หลังมาตรา 112 ไล่ล่าคนอื่น

ก็ขอเชิญมาจับมือสู้ไปด้วยกันนะฮะ
นี่จึงจะเป็นสิ่งที่ต้องการที่สุด ณ ยามนี้ฮะ


* * * 
 

JUNYA’S LESE MAJESTE CASE MOVES FORWARD

In March, PPT posted on exiled activist on lese majeste, labor, monarchy, women and more, Junya Yimprasert. Junya, widely known as Lek, posted then that she thought her new book Labour Shouldering the Nation was being investigated “most likely for lèse-majesté crime under the article 112 of the Thailand’s ‘draconian’ criminal code.”
 
 
As the investigation has progressed, however, it became clear that the Department of Special Investigation was looking at her publication Why I Don’t Love the King or ทำไมถึงไม่รักในหลวง that came out in English and Thai in 2010. The complaint about this book came from the Ministry of Information and Communications Technology (MICT).

On 30 August Lek posted at Facebook:

I have received some shocking news — a warrant for my arrest has been issued in Thailand over accusations that I offended the monarchy…. A senior government source told me yesterday that the arrest warrant was issued in May.

She adds that Why I Don’t Love The King was “a personal account of how I lost my love for Thailand’s monarch but still deeply love my country…”. After she put it out, she “was advised that it would be safer … to stay out of the country.”

Lek makes the all too obvious point that:

Without the abolition or reform of the lèse majesté law there will never be freedom of speech in Thailand.

Junya is a brave and outspoken woman, and the investigation seeks to punish her for being an independent thinker.

Political Prisoners of Thailand
 
* * *  
 
ถ้าใครดูรายงานคอป. (รายงานฉบับสมบูรณ์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กรกฎาคม ๒๕๕๓ – กรกฎาคม ๒๕๕๕)

จะเห็นว่าในแผนงานและในส่วนงบประมาณนั้น จำนวนเยอะมากใช้ไปกับผู้เชียวชาญและที่ปรึกษา และอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ Kofi Annan และ Martti Ahtisaari อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ก็เป็นผู้ให้คำปรึกษามาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว ตอนนี้เพิ่มมาด้วย Tony Blair (ที่ถูกประท้วงในหลายประเทศในฐานะอาชญากรสงครามอิรักร่วมกับอดีต ปธน. สหรัฐฯ (George Bush)

ย้อนมาดู รายงาน คอป. ถ้าดูการใช้จ่ายงบของ คอป. "รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๕,๒๖๑,๕๘๖.๘๐ บาท" ในช่วงรายงานการเงิน ก็จะเห็นตัวเลขสูงๆ จ่ายไปกับผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา คณะทำงานและสำนักงาน ทั้งนี้มีงบ "โครงการสัมมนาและกิจกรรมทางวิชาการ" อยู่ด้วยกะจิดหนึ่ง "รวมทั้งสิ้น ๑,๒๙๙,๓๕๗.๓๖ บาท" เท่านั้นเอง

การที่อดีตผู้ยิ่งใหญ่โลก 3 คน มาอยู่ในไทยช่วงนี้เพื่อให้คำปรึกษาครม. เป็นแผนงานต่อเนื่องมาจาก คอป. กับ รัฐบาลไทย

ดังนั้นแม้จะต้องสุภาพกับแขกบ้านแขกเมือง แต่การตั้งคำถามและโต้ตอบอย่างจริงจังกับอดีตผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามท่านเพื่อหาทางออกประเทศไทยที่สันติและยุติธรรม จึงเป็นเรื่องชอบธรรมและจำเป็น ...ถ้าไทยต้องการใช้ภูมิความรู้ของที่ปรึกษาค่าตัวแพงจากต่างแดนอย่างคุ้มค่า







* * *

ประเทศไทยจะต้องฟังและปรองดองกับราษฎรอาวุโส และมาเฟียการเมืองเหล่านี้กันไปอีกนานแค่ไหน?

มติชน วันที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2556

"เติ้ง"เดินสายพบ"อานันท์-หมอประเวศ-3บิ๊กปชป."หลังกลับจากจีน ประสานงานสภาปฏิรูปการเมือง

 แหล่งข่าวจากคนใกล้ชิดนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ประสานงานและขับเคลื่อนคณะทำงาน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ของเวทีสภาปฏิรูปการเมือง ตามแนวคิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 กันยายน ถึงการเดินสายหารือของนายบรรหารว่า นายบรรหารจะเดินทางกลับจากประเทศจีนในวันที่ 6 กันยายน จากนั้นในวันที่ 9 กันยายน นายบรรหารนัดพบกับนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี วันที่ 11 กันยายน นัดพบ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) วันที่ 16 กันยายน นัดพบนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้า ปชป.และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ปชป.
* * * 

ข้อเรียกร้องให้นิรโทษกรรมคนติดคุกเพราะการเมืองออกมาก่อน และนั่นหมายถึงนักโทษคดี 112 ด้วยเพราะเป็นคดีการเมืองเช่นกัน

เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เพียงชอบธรรมเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำอย่างยิ่ง!