การต่อสู้ของคนงานไทรอัมพ์นี่มีบทเรียนหลายเรื่องต้องบันทึก และแกนนำ 2-3 คน รวมทั้งจิตรา คชเดช ต้องเผชิญกับคดีฟ้องร้องจากรัฐบาลยุคอภิสิทธิ์กันสองสามคดี ยังขึ้นศาลกันไม่จบจนถึงบัดนี้
ใครว่างก็ไปร่วมสังเกตการณ์คดีไทรอัมพ์นะฮะ รายละเอียดอยู่ในโน๊ตแล้วค่ะ
ข้อเท็จจริงในคดีไทรอัมพ์
การชุมนุมของไทรอัมพ์เป็นการชุมนุมของคนงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง จำนวน 1,959 คนและเป็นการชุมนุมที่สืบเนื่องมาจาก การยื่นหนังสือต่อรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ประจำทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 เพื่อติดตามว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้าง
การชุมนุมในวันที่ 27 สิงหาคม 2552 เป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย , สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็คทรอนิกส์ (ไทยแลนด์)จำกัดและคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและภาคประชาชนกว่า 1,000 คน ที่เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านั้น
โดยในวันดังกล่าวมีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้นนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งเรียกร้องขอให้ถอนหมายจับแกนนำผู้ชุมนุมโดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย
เจ้าพนักงานอัยการมีความเห้นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสามรายในข้อหากระทำผิดด้วยการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ เจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก (กฎหมายอาญา มาตรา 85 ,215 และและ216 ) โดยอัยการได้ยกฟ้องข้อหากีขวางทางจราจรเนื่องจากคดีหมดอายุความ
ทั้งนี้พนักงานของ บริษัทเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ ได้เดินทางมาร่วมชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายกฯ เนื่องจากเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 52 นายจ้างประกาศปิดกิจการลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย และสิทธิต่างๆตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คนงานเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ จึงชุมนุมเรียกร้องสิทธิที่พึงได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และในวันที่ 6 ส.ค. 52 นายก้องเกรียติ จรุงผลพิพัฒน์ ได้ฟ้องคดีแพ่งต่อคนงาน ในข้อหาบุกรุก และกระทำการให้บริษัทฯเสียหาย ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้นายกได้ใช้อำนาจหน้าที่เจรจาไกลเกลี่ย ให้นายก้องเกรียติถอนฟ้องคดีความแพ่งต่อคนงาน และให้นายกิจจา จรุงผลพิพัฒน จ่ายค่าชดเชยและสิทธิต่างๆตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ตารางการเข้าสังเกตการณ์คดี
สถานที่ ศาลอาญา รัชดา
ห้อง ................................................
วันที่ 28 พฤษภาคม 2556วันที่ 29 พฤษภาคม 2556
วันที่ 30 พฤษภาคม 2556
ใครว่างก็ไปร่วมสังเกตการณ์คดีไทรอัมพ์นะฮะ รายละเอียดอยู่ในโน๊ตแล้วค่ะ
* * *
อาสาสมัครสังเกตการณ์ึคดีฟ้องแรงงานไทรอัมพ์จากกรณีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิแรงงาน
by Jittra Cotchadet (Notes) on Tuesday, 14 May 2013 at 10:59ข้อเท็จจริงในคดีไทรอัมพ์
การชุมนุมของไทรอัมพ์เป็นการชุมนุมของคนงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง จำนวน 1,959 คนและเป็นการชุมนุมที่สืบเนื่องมาจาก การยื่นหนังสือต่อรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ประจำทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 เพื่อติดตามว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้าง
การชุมนุมในวันที่ 27 สิงหาคม 2552 เป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย , สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็คทรอนิกส์ (ไทยแลนด์)จำกัดและคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและภาคประชาชนกว่า 1,000 คน ที่เคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านั้น
โดยในวันดังกล่าวมีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้นนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งเรียกร้องขอให้ถอนหมายจับแกนนำผู้ชุมนุมโดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย
เจ้าพนักงานอัยการมีความเห้นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสามรายในข้อหากระทำผิดด้วยการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ เจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก (กฎหมายอาญา มาตรา 85 ,215 และและ216 ) โดยอัยการได้ยกฟ้องข้อหากีขวางทางจราจรเนื่องจากคดีหมดอายุความ
ทั้งนี้พนักงานของ บริษัทเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ ได้เดินทางมาร่วมชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องต่อนายกฯ เนื่องจากเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 52 นายจ้างประกาศปิดกิจการลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย และสิทธิต่างๆตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คนงานเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ จึงชุมนุมเรียกร้องสิทธิที่พึงได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และในวันที่ 6 ส.ค. 52 นายก้องเกรียติ จรุงผลพิพัฒน์ ได้ฟ้องคดีแพ่งต่อคนงาน ในข้อหาบุกรุก และกระทำการให้บริษัทฯเสียหาย ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้นายกได้ใช้อำนาจหน้าที่เจรจาไกลเกลี่ย ให้นายก้องเกรียติถอนฟ้องคดีความแพ่งต่อคนงาน และให้นายกิจจา จรุงผลพิพัฒน จ่ายค่าชดเชยและสิทธิต่างๆตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ตารางการเข้าสังเกตการณ์คดี
สถานที่ ศาลอาญา รัชดา
ห้อง ................................................
วันที่ 28 พฤษภาคม 2556วันที่ 29 พฤษภาคม 2556
วันที่ 30 พฤษภาคม 2556