เรื่องเงินกู้ของรัฐบาลไทย
นับตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ ปี 2008(2551) รัฐบาลไทยกู้เงินทุกปี ปีละ 350,000 - 400,000 บาทเพื่อมาเติมในงบประมาณแผ่นดินที่ขาดดุล ซึ่งเป็นการนำมาใช้จ่ายในส่วนงบประมาณ (โดยในการนี้มีการซื้อใจทหารด้วยการไม่ลดงบประมาณทหาร และซื้อใจข้าราชการด้วยการคงอัตราการขึ้นเงินเดือนของข้าราชการมาต่อเนื่องทุกปีเช่นกัน)
เป็นเงินกู้มาเพียงเพื่อเติมงบประมาณแผ่นดินที่ขาดดุลปีละ 40% ที่ได้ทำต่อเนื่องมาทุกปีนับตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์จนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์รวมวงเงินตอนนี้ก็ร่วม 2 ล้านๆ บาทแล้ว ที่เป็นเงินกู้ที่ไม่ได้งอกเงยทางเรื่องโครงสร้างพื้นฐานอะไร นอกจากมาอุดในส่วนการบริหารประเทศเท่านั้น
ประเด็นเรื่องเงินกู้เพิ่มเติมในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กู้มาเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ก้อนใหญ่คือ กู้มาเพื่อจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านที่อนุมัติปีที่แล้ว และปีนี้อนุมัติในหลักการเรื่องกู้มาอีก 2.2 ล้าน เพื่อการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องการเปลี่ยนโครงสร้างการเดินทางรถไฟรางเดี่ยว "กระฉึกกระฉัก ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง" มาสู่ระบบรถไฟรางคู่ความเร็วสูงกรุงเทพ - เชียงใหม่เพียงชั่วอึดใจ 4-5 ชั่วโมง
รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงได้ตัดสินใจใหญ่มาก เรื่องเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างพื้นฐานสองเรื่องใหญ่ถึง 2 เรื่อง คือ เรื่องน้ำและการเดินทางโดยรถไฟ อันมียอดเงินสูงมาก รวมกันแล้วถึง 2.6 ล้านล้านบาท และถ้ารวมดอกเบี้ยที่จะต้องใช้ก็จะมียอดสูงถึงกว่า 6 ล้านล้านบาท
เป็นการกล้าตัดสินใจที่มาพร้อมกับภาระที่ยิ่งใหญ่มาก และภาระนี้ถ้ารัฐบาลทำล้มเหลว ก็จะต้องร่วมแบกรับผลกระทบกันทั้งประเทศเช่นกัน
แน่นอนว่า เป็นภาระประชาชนที่จะต้องให้ความสำคัญและศึกษาเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง
ประเด็นของกูคือไม่ใช่ค้านเรื่องนี้กันสุดลิ่มทิ่มประตูเลอะเทะไปหมดเช่นที่ประชาธิปัตย์และสาวกทำกันอยู่ตอนนี้
เพราะทั้งเรื่องน้ำและเรื่องการขนส่งที่รวดเร็วและเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านเป็นทิศทางการพัฒนาที่คงไม่มีใครในประเทศนี้ไม่อยากเห็น และไม่ฝันถึง (รวมทั้งประชาธิปัตย์ที่ไม่มีกึ๋นและความสามารถพอที่จะกล้าลงมือทำ)
กระนั้น เสียงแห่งการท้วงติง ชี้แนะ ที่ไม่ใช่การค้านกันหัวชนฝาเพราะกูไม่ได้เป็นคนได้หน้า หรือได้ประโยชน์ จึงควรจะมีการกระทำกันบ้าง
โดยเฉพาะเรื่องการเตือนรัฐบาลไม่ให้ละหลวมและชะล่าใจเกินไป ยอมให้มีการสอดไส้โครงการเล็กๆ น้อยๆ เข้าไปในวงเงินกู้นี้เพื่อซื้อใจและปิดปากกลุ่มอำนาจในเมืองไทยกันต่อไป หรือปล่อยให้มีการโกงกินและสร้างผลกระทบมากมายตลอดโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ ทั้งหลายภายใต้เงินกู้นี้ ทั้งเรื่องเขื่อน ถนน รถไฟ และประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ
รวมทั้งในแผนเงินกู้ใหญ่นี้ มีโครงการเล็กๆ สอดแทรกเป็นร้อยโครงการ ที่ประชาชนอาจจะไม่ได้เห็นในรายละเอียดทั้งหมด รัฐบาลจะต้องรอบคอบว่า โครงการอะไรที่ไม่จำเป็น ที่แทรกเข้ามาโดยกลุ่มอำนาจเพื่อผลประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง รัฐบาลก็ต้องกล้าตัดสินใจตัดหรือลด หรือผันเงินไปใช้ในส่วนที่จำเป็นกว่า
เนื่องจากเป็นแผนใช้เงินระยะยาว รัฐบาลได้เปิดให้มีการประเมินและปรับเปลี่ยนยุทธวิธีกันเป็นระยะ ได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ๆ และเสียงทักท้วงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง นี่คือสิ่งที่กูอยากพูด และเขียนเกี่ยวกับเงินกู้ของรัฐบาลไทยจากข้อมูลที่กูได้รับรู้มา