ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเจ้า เกี่ยวกับกษัตริย์ไม่ได้เริ่มจากความเป็นธรรมดาสามัญอยู่แล้ว
ทุกสิ่งที่ทำ ที่แตะต้อง ที่ใช้สอย ที่ลงมือปลูก
จึงต้องถูกกำกับด้วยคำว่า "ทรงพระปรีชาชาญที่สุดในโลก"
"ทรงพระพอเพียงมากที่สุดในโลก"
"ทรงรู้จักใช้สิ่งของและประหยัดมากที่สุดในโลก"
"ทรงภูมิปัญญาเยี่ยงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"
"ทรงเป็นเอกอัครมหาราช"
"ทรงเป็นกษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งปวง"
"ทรงเป็นผู้มีญาณหยั่งรู้สรรพสิ่ง"
ฯลฯ
เพราะเป็นกษัตริย์
จึงไม่มีอะไรที่แม้ทำเช่นเดียวกับคนธรรมดาสามัญ
จะถือเป็นเรื่อง "ธรรมดาสามัญ"
ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว!
* * *
วกมาคุยเรื่องนักโทษการเมืองและนักโทษ 112 สักนิด
ตราบใดทีี่ผู้คนในสังคมยังไม่สามารถรู้จักได้ว่า "อะไรถูก" "อะไรผิด" ในด้านหลักการและความยุติธรรมที่มาตรฐานเดียได้ ... สังคมนั้นก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือที่ได้มาตรฐาน
สังคมนั้นก็ยังจะต้องมีเหยื่อทางการเมืองและผู้คนที่ทนไม่ได้ลุกขึ้นมาสู้
และก็ทำให้สังคมนั้นก็ยังจะต้องมี "นักโทษการเมือง" และ "นักโทษทางความคิด" กันอยู่
ประเทศใดก็ตาม ที่ยังมีนักโทษทางการเมือง และนักโทษทางความคิด ประเทศนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้ชาวโลกเชื่อได้ว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย
ดังนั้นการที่ นรต. ยิ่งลักษณ์ ลุกขึ้นมายอมรับความจริงข้อนี้กับชาวโลกที่มองโกเลีย จึงเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว ที่นายกรัฐมนตรีของไทยจะพึงกระทำ
ดังนั้นเมื่อยอมรับกันตรงนี้แล้ว ก็ถึงคราวที่รัฐบาลและสังคมจะดูแลและจัดการอย่างไรกับเรื่อง "การปักหมุดหลักการประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" และ "หลักแห่งความยุติธรรม" ในประเทศกันอย่างจริงจัง
แน่นอนมันใช้เวลา และสู้ทุกระดับ ทั้งระดับจิตสำนึกในครอบครัว ระดับการบริหารการปกครองของกลไกรัฐ ระดับการถกเถียงและแก้ไขกฎหมายในรัฐสภา จนถึงระดับการทำประชาพิจารณ์ในประเด็นใหญ่ๆ ของประเทศ
การสู้ในสภาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะกฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ต้องแก้ที่สภา
แต่การสู้นอกสภาก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะต้องกดดันรัฐบาลให้กล้าตัดสินใจในประเด็นใหญ่ๆ และสำคัญๆ
กระนั้น การสู้จากคุกนี่สำคัญที่สุด เพราะนักโทษการเมือง คือ "ประจักษ์พยาน" แห่งความ "อยุติธรรม" "การไม่เคารพเสรีภาพ" และ "การไม่รู้จักประชาธิปไตย" ในประเทศ
ภาคประชาชนในประเทศต่างๆ ที่มีนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิด จะใช้ประเด็นเรื่องนี้ ผลักดันให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และการเมืองในประเทศ
แต่นั่นก็หมายความว่าสังคมนั้น ก็ตระหนักในความเสียสละและความยากลำบากที่ตัวนักโทษและครอบครัวต้องเผชิญ และพร้อมเสียสละในด้านอื่นๆ เพื่อหนุนช่วยและดูแลคนที่ถูกจองจำและครอบครัว
รูปธรรมที่หลายประเทศทำคือ คนอยู่นอกคุก จะะต้องตั้งกองทุนและกิจกรรมการดูแล "ประจักษ์พยาน" เหล่านี้และ "ครอบครัว" ด้วยความเคารพนับถือ และมีคุณภาพ
ประเด็นเรื่อง "นักโทษการเมือง" และ "นักโทษมาตรา 112" จึงไม่ใช่เรื่องประนีประนอมหลักการ ที่อาจจะต้องแลกความผิด เพื่อเอาพวกเขาออกจากคุก เพราะมันลำบากกันเหลือเกิน อย่างเดียวเท่านั้น
แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ขบวนการที่ใหญ่พอเป็นองค์กรหรือสถาบันที่จัดการระดมทุน และจัดสรรดูแลพวกเขาในคุกและครอบครัวพวกเขานอกคุกอย่างมีหลักเกณฑ์
ไม่ใช่เป็นเรื่องปัจเจก กระจายกันตามความชอบหรือความดังส่วนบุคคล ที่ไม่เท่าเทียม และไม่ต่อเนื่องเช่นที่เป็นอยู่นี้
เมื่อทำได้แบบนี้ สังคมจึงสามารถจะถามนักโทษการเมือง และนักโทษมาตรา 112 ว่าจะยอมเสียสละเพื่อปักหมุกแห่งความยุติธรรมและหลักการในสังคมได้หรือไม่?
นอกจากเรื่องการเร่งนิรโทษกรรม โดยไม่แลกการยกความผิดให้กับทหารและรัฐบาลที่สั่งการให้ยิงประชาชนแล้ว
เรื่องรูปธรรมในการจัดระบบและการระดมทุนเป็นรูปธรรมในการดูแลนักโทษการเมือง (นักโทษ 112) และครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรม มีมาตรฐาน และต่อเนื่อง ก็เป็นสิ่งที่ต้องคุยกันอย่างเป็นทางการเสียที เช่นกัน
ตราบใดทีี่ผู้คนในสังคมยังไม่สามารถรู้จักได้ว่า "อะไรถูก" "อะไรผิด" ในด้านหลักการและความยุติธรรมที่มาตรฐานเดียได้ ... สังคมนั้นก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือที่ได้มาตรฐาน
สังคมนั้นก็ยังจะต้องมีเหยื่อทางการเมืองและผู้คนที่ทนไม่ได้ลุกขึ้นมาสู้
และก็ทำให้สังคมนั้นก็ยังจะต้องมี "นักโทษการเมือง" และ "นักโทษทางความคิด" กันอยู่
ประเทศใดก็ตาม ที่ยังมีนักโทษทางการเมือง และนักโทษทางความคิด ประเทศนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้ชาวโลกเชื่อได้ว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย
ดังนั้นการที่ นรต. ยิ่งลักษณ์ ลุกขึ้นมายอมรับความจริงข้อนี้กับชาวโลกที่มองโกเลีย จึงเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว ที่นายกรัฐมนตรีของไทยจะพึงกระทำ
ดังนั้นเมื่อยอมรับกันตรงนี้แล้ว ก็ถึงคราวที่รัฐบาลและสังคมจะดูแลและจัดการอย่างไรกับเรื่อง "การปักหมุดหลักการประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" และ "หลักแห่งความยุติธรรม" ในประเทศกันอย่างจริงจัง
แน่นอนมันใช้เวลา และสู้ทุกระดับ ทั้งระดับจิตสำนึกในครอบครัว ระดับการบริหารการปกครองของกลไกรัฐ ระดับการถกเถียงและแก้ไขกฎหมายในรัฐสภา จนถึงระดับการทำประชาพิจารณ์ในประเด็นใหญ่ๆ ของประเทศ
การสู้ในสภาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะกฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ต้องแก้ที่สภา
แต่การสู้นอกสภาก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะต้องกดดันรัฐบาลให้กล้าตัดสินใจในประเด็นใหญ่ๆ และสำคัญๆ
กระนั้น การสู้จากคุกนี่สำคัญที่สุด เพราะนักโทษการเมือง คือ "ประจักษ์พยาน" แห่งความ "อยุติธรรม" "การไม่เคารพเสรีภาพ" และ "การไม่รู้จักประชาธิปไตย" ในประเทศ
ภาคประชาชนในประเทศต่างๆ ที่มีนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิด จะใช้ประเด็นเรื่องนี้ ผลักดันให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และการเมืองในประเทศ
แต่นั่นก็หมายความว่าสังคมนั้น ก็ตระหนักในความเสียสละและความยากลำบากที่ตัวนักโทษและครอบครัวต้องเผชิญ และพร้อมเสียสละในด้านอื่นๆ เพื่อหนุนช่วยและดูแลคนที่ถูกจองจำและครอบครัว
รูปธรรมที่หลายประเทศทำคือ คนอยู่นอกคุก จะะต้องตั้งกองทุนและกิจกรรมการดูแล "ประจักษ์พยาน" เหล่านี้และ "ครอบครัว" ด้วยความเคารพนับถือ และมีคุณภาพ
ประเด็นเรื่อง "นักโทษการเมือง" และ "นักโทษมาตรา 112" จึงไม่ใช่เรื่องประนีประนอมหลักการ ที่อาจจะต้องแลกความผิด เพื่อเอาพวกเขาออกจากคุก เพราะมันลำบากกันเหลือเกิน อย่างเดียวเท่านั้น
แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ขบวนการที่ใหญ่พอเป็นองค์กรหรือสถาบันที่จัดการระดมทุน และจัดสรรดูแลพวกเขาในคุกและครอบครัวพวกเขานอกคุกอย่างมีหลักเกณฑ์
ไม่ใช่เป็นเรื่องปัจเจก กระจายกันตามความชอบหรือความดังส่วนบุคคล ที่ไม่เท่าเทียม และไม่ต่อเนื่องเช่นที่เป็นอยู่นี้
เมื่อทำได้แบบนี้ สังคมจึงสามารถจะถามนักโทษการเมือง และนักโทษมาตรา 112 ว่าจะยอมเสียสละเพื่อปักหมุกแห่งความยุติธรรมและหลักการในสังคมได้หรือไม่?
นอกจากเรื่องการเร่งนิรโทษกรรม โดยไม่แลกการยกความผิดให้กับทหารและรัฐบาลที่สั่งการให้ยิงประชาชนแล้ว
เรื่องรูปธรรมในการจัดระบบและการระดมทุนเป็นรูปธรรมในการดูแลนักโทษการเมือง (นักโทษ 112) และครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรม มีมาตรฐาน และต่อเนื่อง ก็เป็นสิ่งที่ต้องคุยกันอย่างเป็นทางการเสียที เช่นกัน