การสร้าง "บรรหาร-แจ่มใส" และใช้ชื่อเขาเป็นทุกสิ่งที่สร้างทั้งเงินส่วนตัวและงบประมาณมาอย่างยาวนาน จนเกิดเป็น "บรรหารบุรี" ไม่แตกต่างจากการปลุกปั้น "ชาติของพระเจ้าแผ่นดิน" เท่าไร แต่เป็นหน่วยที่เล็กกว่า และอาจจะทำสำเร็จได้ง่ายกว่าในระดับชาติ
ในฐานะที่เป็นคนสุพรรณฯ ใช้ชีวิต 20 ปีแรกที่สุพรรณฯ นอกจากชื่อบรรหาร-แจ่มใสและหอดูเมือง โรงเรียนบรรหาร สวนหย่อม ถนนดี แล้ว กูไม่รู้สึกว่าวิถีชาวบ้านสุพรรณฯ จะร่ำรวยมั่งคั่งกว่าชาวบ้านในที่ลุ่มแหล่งปลูกข้าวส่งออกจากภาคกลางเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นอ่างทอง สิงห์บุรี และอยุธยา ที่อยู่รอบๆ
มันเป็นเรื่อง presentation และการสร้างเอกลักษณ์สุพรรณฯ จากตัวและตระกูลนักการเมืองที่ผูกโยงเรื่องพื้นที่กับคะแนนเสียงมาอย่างยาวนาน
กูถามตัวเองหลายครั้งว่า อยากเห็นจังหวัดอื่นทำแบบบรรหารไหม สร้างความเป็นจังหวัดนิยม คลั่งจังหวัด และสนใจอยู่แต่เฉพาะจังหวัดของตัวเอง?
ก็ตอบว่า แน่นอนกูสนับสนุนให้ สส. ดูแลประชาชนในเขตพื้นที่ของตัวเอง คิดเรื่องการพัฒนาร่วมกันกับประชาชนแบบที่บรรหารทำ
แต่กูไม่สนับสนุนการสร้างแบรนด์ เอาชื่อตัวเองและภรรยา เป็นชื่อสิ่งปลูกสร้างทุกอย่างในจังหวัด เช่นเดียวกันกับที่กูก็ไม่สนับสนุนให้ใช้ชื่อในหลวง ราชินีและสมาชิกราชวงศ์เป็นชื่อทุกสิ่งก่อสร้างสำคัญในประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจยิ่ง ′อำนาจแห่งเอกลักษณ์: ลัทธิจังหวัดนิยมแบบบรรหารบุรี′ โดย เกษียร เตชะพีระ'
เรื่องอิเลคโทลักซ์เป็นเรื่องการต้องการล้มสหภาพเป็นหลักโดยอ้างเรื่องค่าแรง ทั้งๆ ที่จริงๆ บริษัทมีอำนาจจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้นเป็นอีกเท่าได้สบายๆ
จำปี 2540 ได้ไหม ต้องออกพรบ. คุ้มครองแรงงาน พวกนายทุนถือโอกาสปิดโรงงานและปรับอุตสาหกรรมกันเป็นแถว มีคนตกงานช่วงนั้นร่วมครึ่งล้าน โดยเฉพาะสิ่งทอและตัดเย็บ เพื่อหนีการประกาศใช้ พรบ. คุ้มครองแรงงานปี 2541
เรื่องค่าแรงนี้ปัญหาอยู่ที่นายทุน ที่เคยตัวกับการเอาเปรียบคนงาน ไม่ใช่อยู่ที่นโยบาย 300 บาท/วัน ซึงต้องยอมรับว่านโยบาย 300 บาททั่วประเทศ (ค่าแรงอัตราเดียวทั่วประเทศ) เป็นนโยบายด้านแรงงานที่ก้าวหน้าที่สุดเรื่องหนึ่งที่ประเทศไทยเคยมี นับตั้งแต่ประกาศเรื่องค่าแรงขั้นต่ำเมื่อปี 2515 ซึ่งตอนนั้นแบ่งค่าแรงเป็น 3 ระดับ และใช้มาจนถึงช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 ที่นายทุนสามารถกดดันให้ค่าแรงลอยตัว ขึ้นตามแต่ละจังหวัด
จนก่อนจะมีประกาศค่าแรง 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ค่าแรงในประเทศไทยมีถึง 32 ระดับ
ย้ำว่าเรื่องค่าแรง 300 บาท ไม่ใช่สาเหตุหลักแห่งการเลิกจ้างงาน แต่เพราะปัญหาอยู่ที่นายทุนเมืองไทยปิดกั้นและทำลายเสรีภาพในการรวมตัวต่อรองเป็นสหภาพแรงงานมายาวนานต่างหากที่เป็นปัญหาใหญ่
อย่างที่ วิโรจน์ ณ ระนองว่าไว้ "รัฐไม่ควรอุ้มอุตสาหกรรม sunset"
ถ้าทุนรับผิดชอบไม่ได้ ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้อุตสาหกรรมนั้นๆ ตายไป
รัฐดูแลและอุ้มทุนเป็นหลักมานาน จนรายได้นายจ้างกับรายได้ลูกจ้างเมืองไทยต่างกันนับร้อยเท่าเช่นนี้ (นายจ้างคนหนึ่งมีรายได้แต่ละเดือนมากกว่าเงินเดือนลูกจ้าง 50-100 คนรวมกัน นี่มันเรียกว่าการขูดรีด)
ถึงเวลาที่รัฐต้องดูแลคุณภาพและสุขภาวะของคนงานเป็นหลัก เตรียมมาตรการดูแลและส่งเสริมให้พวกเขาที่ตกงานสร้างงานใหม่อย่างไร อาทิ ส่งเสริมให้คนงานรวมตัวทำธุรกิจหรือทำผลิตกรรมตามสาขาอาชีพที่ถนัด ซึ่งมีตัวอย่างมากมายให้เห็นว่าทำได้ ทั้ง Dignity Returns, Try Arm หรือกลุ่มสหกรณ์คนงานไทยเกรียง เป็นต้น
ร่วมรำลึกถึงขบวนการป้าโรซ่า ปาร์ก ที่ลุกขึ้นสู้เพื่อปลดแอกการแบ่งแยกผิวที่อเมริกา
การเรียกร้องอธิบดีศาลออกแถลงการณ์ขอโทษประชาชนครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ เพื่อทำให้ทุกสถาบันในประเทศไทย เคารพเสียงประชาชน และประชาชนมีสิทธิ์ตรวจสอบและทักท้วงสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลได้อย่างแท้จริง
เยี่ยมฮะ ....
Thanks Andrew!
วิพากษ์หนักสโมสรนักข่าวต่างประเทศในไทย
ในฐานะที่เป็นคนสุพรรณฯ ใช้ชีวิต 20 ปีแรกที่สุพรรณฯ นอกจากชื่อบรรหาร-แจ่มใสและหอดูเมือง โรงเรียนบรรหาร สวนหย่อม ถนนดี แล้ว กูไม่รู้สึกว่าวิถีชาวบ้านสุพรรณฯ จะร่ำรวยมั่งคั่งกว่าชาวบ้านในที่ลุ่มแหล่งปลูกข้าวส่งออกจากภาคกลางเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นอ่างทอง สิงห์บุรี และอยุธยา ที่อยู่รอบๆ
มันเป็นเรื่อง presentation และการสร้างเอกลักษณ์สุพรรณฯ จากตัวและตระกูลนักการเมืองที่ผูกโยงเรื่องพื้นที่กับคะแนนเสียงมาอย่างยาวนาน
กูถามตัวเองหลายครั้งว่า อยากเห็นจังหวัดอื่นทำแบบบรรหารไหม สร้างความเป็นจังหวัดนิยม คลั่งจังหวัด และสนใจอยู่แต่เฉพาะจังหวัดของตัวเอง?
ก็ตอบว่า แน่นอนกูสนับสนุนให้ สส. ดูแลประชาชนในเขตพื้นที่ของตัวเอง คิดเรื่องการพัฒนาร่วมกันกับประชาชนแบบที่บรรหารทำ
แต่กูไม่สนับสนุนการสร้างแบรนด์ เอาชื่อตัวเองและภรรยา เป็นชื่อสิ่งปลูกสร้างทุกอย่างในจังหวัด เช่นเดียวกันกับที่กูก็ไม่สนับสนุนให้ใช้ชื่อในหลวง ราชินีและสมาชิกราชวงศ์เป็นชื่อทุกสิ่งก่อสร้างสำคัญในประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจยิ่ง ′อำนาจแห่งเอกลักษณ์: ลัทธิจังหวัดนิยมแบบบรรหารบุรี′ โดย เกษียร เตชะพีระ'
* * *
จำปี 2540 ได้ไหม ต้องออกพรบ. คุ้มครองแรงงาน พวกนายทุนถือโอกาสปิดโรงงานและปรับอุตสาหกรรมกันเป็นแถว มีคนตกงานช่วงนั้นร่วมครึ่งล้าน โดยเฉพาะสิ่งทอและตัดเย็บ เพื่อหนีการประกาศใช้ พรบ. คุ้มครองแรงงานปี 2541
เรื่องค่าแรงนี้ปัญหาอยู่ที่นายทุน ที่เคยตัวกับการเอาเปรียบคนงาน ไม่ใช่อยู่ที่นโยบาย 300 บาท/วัน ซึงต้องยอมรับว่านโยบาย 300 บาททั่วประเทศ (ค่าแรงอัตราเดียวทั่วประเทศ) เป็นนโยบายด้านแรงงานที่ก้าวหน้าที่สุดเรื่องหนึ่งที่ประเทศไทยเคยมี นับตั้งแต่ประกาศเรื่องค่าแรงขั้นต่ำเมื่อปี 2515 ซึ่งตอนนั้นแบ่งค่าแรงเป็น 3 ระดับ และใช้มาจนถึงช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 ที่นายทุนสามารถกดดันให้ค่าแรงลอยตัว ขึ้นตามแต่ละจังหวัด
จนก่อนจะมีประกาศค่าแรง 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ค่าแรงในประเทศไทยมีถึง 32 ระดับ
ย้ำว่าเรื่องค่าแรง 300 บาท ไม่ใช่สาเหตุหลักแห่งการเลิกจ้างงาน แต่เพราะปัญหาอยู่ที่นายทุนเมืองไทยปิดกั้นและทำลายเสรีภาพในการรวมตัวต่อรองเป็นสหภาพแรงงานมายาวนานต่างหากที่เป็นปัญหาใหญ่
อย่างที่ วิโรจน์ ณ ระนองว่าไว้ "รัฐไม่ควรอุ้มอุตสาหกรรม sunset"
ถ้าทุนรับผิดชอบไม่ได้ ปรับตัวไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้อุตสาหกรรมนั้นๆ ตายไป
รัฐดูแลและอุ้มทุนเป็นหลักมานาน จนรายได้นายจ้างกับรายได้ลูกจ้างเมืองไทยต่างกันนับร้อยเท่าเช่นนี้ (นายจ้างคนหนึ่งมีรายได้แต่ละเดือนมากกว่าเงินเดือนลูกจ้าง 50-100 คนรวมกัน นี่มันเรียกว่าการขูดรีด)
ถึงเวลาที่รัฐต้องดูแลคุณภาพและสุขภาวะของคนงานเป็นหลัก เตรียมมาตรการดูแลและส่งเสริมให้พวกเขาที่ตกงานสร้างงานใหม่อย่างไร อาทิ ส่งเสริมให้คนงานรวมตัวทำธุรกิจหรือทำผลิตกรรมตามสาขาอาชีพที่ถนัด ซึ่งมีตัวอย่างมากมายให้เห็นว่าทำได้ ทั้ง Dignity Returns, Try Arm หรือกลุ่มสหกรณ์คนงานไทยเกรียง เป็นต้น
* * *
ร่วมรำลึกถึงขบวนการป้าโรซ่า ปาร์ก ที่ลุกขึ้นสู้เพื่อปลดแอกการแบ่งแยกผิวที่อเมริกา
นึกแล้วก็คิดว่าน่าจะจัดกิจกรรมรำลึกวันโชติศักดิ์และชุติมา "20 ก.ย.50" วันที่ไม่ยืนในโรงหนังกันบ้างก็น่าจะดีนะ
รู้ไปทำไมว่า วันนี้ 4 กุมภาพันธ์ เป็นวันครบรอบร้อยปีวันเกิด
|
* * *
ตรรกะวิบัติแบบนี้ เปรมก็อาจจะบอกได้ว่า
"ผมอยู่เมืองไทยมา 92 ปี ดังนั้นไม่มีใครรักเมืองไทยเท่าผม"
ถ้าความรักมันวัดกันที่จำนวนปี
ประเทศไทยก็ควรจะต้องอยู่ในการครอบครองของคนแก่ตลอดไปซิ ...
ฉิบหายตายโหงแน่!!!
* * *
การเรียกร้องอธิบดีศาลออกแถลงการณ์ขอโทษประชาชนครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ เพื่อทำให้ทุกสถาบันในประเทศไทย เคารพเสียงประชาชน และประชาชนมีสิทธิ์ตรวจสอบและทักท้วงสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลได้อย่างแท้จริง
เยี่ยมฮะ ....
* * *
ต้องอ่าน! แอนดรูว์จัดหนักสโมสรนักข่าวต่างประเทศในไทยThanks Andrew!
วิพากษ์หนักสโมสรนักข่าวต่างประเทศในไทย
โดย แอนดรูว์ แม็คเกรเกอร์ มาร์แชล
:สืบเนื่องจากการตัดสินจำคุก ‘สมยศ’ ๑๑ ปีอ่านเพิ่มเติม วิพากษ์หนักสโมสรนักข่าวต่างประเทศในไทย
"ทว่ากฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปฏิบัติการโดยสร้างตัวอย่างจากผู้ที่โชคร้ายบางคนเพื่อฝังความหวาดกลัวในหัวของคนอื่นๆ ทั้งหลาย โทรเลขวิกิลี้คปี ๒๕๕๒ ชี้ให้เห็นถึงยุทธวิธี 'เชือดไก่ให้ลิงดู' คนที่โชคร้ายกลายเป็นเหยื่อจะพบตัวเองตกอยู่ในภาวะฝันร้ายทางกฏหมายแบบคัฟคาเอสก์ ซึ่งการขอประกันตัวถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเชื่อแน่ได้ว่าจะต้องถูกพิพากษาให้ผิด คนที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ยอมรับสารภาพเพื่อจะได้ลดหย่อนผ่อนโทษ แต่สมยศแสดงพลังใจอันแน่วแน่ของเขาที่จะไม่ยอมรับเช่นนั้น"