23 มี.ค. 13

ถึงพวกชอบเรียกร้องให้คน "ทำดีเพื่อแทนคุณแผ่นดิน" หน่อยนะ

กูทำดีเพื่อแทนคุณอยู่่เนี่ย เหนื่อยโฮกมาสามสี่ปีแล้ว

ไม่ใช่ทำดีเพื่อแทนคุณแผ่นดินนะ
แต่กูทำดีเพื่อแทนคุณวีรชนที่ถูกฆ่าตาย
ในนาม "เพื่อแทนคุณแผ่นดิน" ของพวกมึงนั่นล่ะ

* * *

กรุงโรมไม่ได้สร้างโดยคนคนเดียว การยกทุกความดีความชอบในทุกเรื่องในประเทศไทยให้ในหลวง

เป็นการกระทำที่ไม่เคารพคนมากมายหลายแสน หลายล้านคน ที่ช่วยกันก่อร่างสร้างความเจริญในดินแดนที่เรียกว่าไทยในปัจจุบัน
* * *

เรื่องความโหดร้ายของเรือนจำไทย ผู้ต้องขังทั้งไทยและเทศ ทั้งหญิงและชาย

รวมทั้งสื่อมวลชน นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชนทั้งไทยทั้งเทศ ทูตต่างๆ รวมทั้งนักการเมืองพูดกันปากเปียกปากแฉะ พูดกันมาหลายปี พูดกันจนตายคาเรือนจำไปแล้ว รัฐบาลก็ไม่ได้ยิน

ต้องให้เชื้อพระวงศ์พูด ภายใต้รายงาน "โครงการกำลังใจในพระดำริ" เท่านั้นมั๊งถึงจะทำให้รัฐบาลเปิดหูฟังและรีบขานรับทันที

นี่ไงล่ะ ตัวอย่าง "ความดี" ทั้งมวลยกให้วัง

ไม่ใช่ไม่มีใครไม่ได้ทำความดีหรอกนะ หรือทำโครงการดีๆ หรอกนะ

แต่รัฐบาลมักจะเลือกที่จะรับฟังคำเสนอแนะของวัง ของพระบรมวงศานุวงศ์มากกว่าของคนกลุ่มอื่นๆ ก็เท่านั้นเอง


เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 มีนาคม ที่โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว ฟอร์จูน รัชดาฯ โครงการกำลังใจในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม จัดงานเผยแพร่ผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อนำข้อกำหนดกรุงเทพฯไปสู่การปฏิบัติกรณีศึกษาในประเทศไทยและนำมาใช้กับผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ มีนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมีตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี

นายชาญเชาวน์กล่าวว่า งานวิจัยนี้เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปเรือนจำในประเทศ ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในเอเชียที่นำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ให้มีการปฏิรูปในเรือนจำหญิงและขยายผลไปสู่เรือนจำชาย งานวิจัยได้นำร่องใช้แล้วที่เรือนจำราชบุรี โดยถือเป็นต้นแบบในการนำข้อกำหนดกรุงเทพฯมาปรับใช้ในเรือนจำ จะเน้นความสำคัญและเอาใจใส่กับสุขภาพอนามัยของผู้ต้องขังหญิง และการปรับวิธีคิดของเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ เน้นความสัมพันธ์ในครอบครัวของผู้ต้องขังหญิงมากขึ้น เช่น ระบบการเข้าเยี่ยมจะเน้นให้พ่อแม่และลูกได้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังหญิงคืนสู่สังคม และระบบความช่วยเหลือเรื่องข้อกฎหมายกับผู้ต้องขังหญิงอีกด้วย

รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ หัวหน้าทีมวิจัยโครงการกำลังใจในพระดำริ กล่าวว่า เรือนจำมักจะถูกมองว่าสร้างให้ดูมีอำนาจ ผู้คุมดูขึงขัง ถือไม้กระบองดูน่ากลัว แต่การวิจัยครั้งนี้เป็นการนำข้อกำหนดกรุงเทพฯมาเปลี่ยนวิธีคิด และการปฏิบัติของผู้ต้องขังหญิง รวมทั้งการปฏิรูปเรือนจำเพื่อให้เรือนจำไม่ใช่สถานที่ลงโทษ แต่เป็นที่ฟื้นฟูให้กำลังใจผู้ต้องขังให้ออกมาสู่สังคมได้อย่างปกติสุข