- - - -
"ถ้ายอมเป็นขี้ข้าทักษิณตลอ
- สุเทพ เทือกสุบรรณ, 6 ธ.ค.56 เลขาฯกปปส. โควทโดยเพจ Mallika Boonmeetrakool https://www.facebook.com/ โดยก่อนหน้านี้ลุกกำนันสุเท "จะทำงานต่อสู้เพื่อมวลชนเป - สุเทพ เทือกสุบรรณ, 3 ธ.ค.56 ที่มา : 'สุเทพ'ปัดข่าวหนีไปตปท.-ปร "วันนี้ผมจะขอแรงพี่น้องประ และอยากจะขอร้องพี่น้องข้าร - สุเทพ เทือกสุบรรณ, 27 พ.ย.56 ที่มา https://www.facebook.com/ "ตำรวจกำลังมาที่นี่ หลายคันรถ อาจจะหนึ่งหมื่นคน เขาประกาศว่าคืนนี้ จะจับผมให้ได้ ไม่ว่าเป็นหรือตาย พี่น้องทั้งหลาย นี่คือขอร้องครั้งสุดท้ายขอ "..นี่อาจจะเป็นคำพูดสุดท้า - สุเทพ เทือกสุบรรณ, 26 พ.ย. 56 ที่มา คำปราศรัยสุเทพ เทือกสุบรรณ: 6 ปฏิรูปหลังระบอบทักษิณ http://prachatai.com/ "พรุ่งนี้ขอแรงพี่น้องที่รั - สุเทพ เทือกสุบรรณ, 26 พ.ย.56 ที่มา : Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) https://www.facebook.com/ "วันนี้ผมทุ่มสุดตัว ทุ่มทั้งชีวิต เพื่อสู้กับระบอบทักษิณ ถ้าพี่น้องออกมาสู้กันอย่าง - สุเทพ เทือกสุบรรณ, 25 พ.ย.56 ที่มา https://www.facebook.com/ นัดชุมนุมยกสุดท้าย 1 ล้านคน ปลุกพลังเงียบ ข้าราชการ มาชุมนุมกันในวันอาทิตย์ที่ - สุเทพ เทือกสุบรรณ, 17 พ.ย.56 ที่มา : สุเทพระดม 1 ล้านคน นัดชุมนุมยกสุดท้าย 24 พ.ย.โค่นระบอบทักษิณhttp://news.bugaboo.tv/ |
เห็นประกาศครั้งสุดท้ายกันมาตั้งแต่ 2549 แล้ว
ยิ่งประกาศ ยิ่งห่างไกลจากการเป็นครั้งสุดท้ายไปมากขึ้นเรื่อยๆ
- - - -
สงครามปกป้องอภิชนาธิปไตย
บทเรียนฟินแลนด์ ประวัติศาสตร์ที่ชำระแล้ว
แน่นอนว่ามีบทเรียนการต่อสู้เพื่อยุติการเมืองเผด็จการ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และอภิสิทธนาธิปไตย ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตลอดช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่นักวิชาการและคนไทยได้เรียนรู้และพยายามนำมาศึกษาเปรียบเทียบและเตือนสติสังคม ไม่ว่าจะบทเรียนฝรั่งเศส อเมริกาอังกฤษ รัสเซีย จีน เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลี เนปาล หรืออาร์เจนตินา หรือประเทศอื่นๆ
เนื่องจากผมอยู่ที่ฟินแลนด์แม้จะไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฟินแลนด์ แต่จากการพูดคุยกับผู้คนและอ่านเอกสารประกอบพอสังเขป ก็เห็นว่าบทเรียนของฟินแลนด์ก็น่าสนใจเพื่อเป็นกรณีศึกษากับเมืองไทยในช่วงนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทเรียนของประเทศนี้ ได้มีการชำระประวัติศาสตร์กันเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ประเทศไทยยังรอคอยประวัติศาสตร์ที่ชำระสะสาง
ประวัติศาสตร์ฟินแลนด์นี่ไม่ว่าจะฟังจากใครหรือจากการอ่านเอกสาร มันไม่ซับซ้อน และไม่ต้องอ่านเงื่อนงำอะไรมากเลย มันเป็นประวัติศาสตร์ที่บันทึกข้อเท็จจริงรอบด้าน เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้คนทั้งประเทศต้องเดินหน้าอย่างระมัดระวังและใช้เหตุใช้ผล
การเป็นประเทศเล็กที่รอบล้อมด้วยประเทศใหญ่ ฟินแลนด์ตกอยู่ในอาณานิคมของสวีเดนหลายร้อยปี แต่สวีเดนก็ถูกรัสเซียตีให้ล่าถอยและเข้ามาผนวกเอาฟินแลนด์เป็นหนึ่งจังหวัด ของรัสเซียและส่งเจ้าเมืองจากรัสเซียมาปกครองได้ประมาณหนึ่งร้อยปี แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุ และเมื่อเลนินนำการปฎิวัติโค่นซาร์ได้สำเร็จในปี 1917 ก็เกิดสูญญากาศทางการปกครองที่ฟินแลนด์ สงครามกลางเมืองระหว่างชนชั้นล่างและชนชั้นสูงที่ฟินแลนด์ก็ปะทุขึ้น เพื่อแย่งชิงอำนาจนำทางการเมืองในประเทศพร้อมกับประกาศอิสรภาพจากรัสเซีย
การปะทุแห่งสงครามชนชั้นที่ฟินแลนด์ จนเป็นสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 5 พฤษภาคม 2461 (1918) เมื่อฝ่ายซ้ายที่ประกอบไปด้วยขบวนการคนงานคนจนในเขตตอนใต้ของฟินแลนด์ นำโดยพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย” ได้จัดตั้งกองกำลังหรือเรียกว่า "ทหารแดง” ได้ปะทะกับกองกำลังจัดตั้งโดยฝ่ายขวาหรือที่เรียกว่า “ทหารขาว” ที่เป็นพวกชนชั้นสูงและเกษตรกรในเขตตอนเหนือของประเทศ ทั้งนี้ทหารแดงได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ส่วนทหารขาวได้รับการสนับสนุนจากเยอรมัน แต่เมื่อเยอรมันส่งกองกำลัง 13,000 คนพร้อมอาวุธเข้ามาช่วยฝ่ายขวา ก็ทำให้ฝ่ายแดงถูกตีพ่าย หลังการสู้รบเป็นเวลาประมาณ 4 เดือน แต่การต่อสู้ครั้งนี้ก็กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่สร้างความเจ็บปวดให้กับคนในประเทศฟินแลนด์มาจนถึงบัดนี้ ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสู้รบร่วมสองหมื่นคน (ทั้งสองฝ่าย แต่ฝ่ายแดงเสียชีวิตเยอะกว่าฝ่ายขาวมาก) และจากการเจ็บปวดและอดตายในช่วงถูกจับขังคุกอีกจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 37,000คน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศในขณะนั้น 3 ล้านคน
เมื่อการสู้รบยุติ ทหารฝ่ายขาวและกองทัพเยอรมันได้จับกุมฝ่ายแดง 80,000 คน แต่เด็กเล็กและผู้หญิงจำนวนหนึ่งถูกปล่อยตัว เหลือที่ถูกคุมขังประมาณ 74,000 – 76,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้าคุกการเมืองที่อยู่กันอย่างแออัดและแน่นขนัดโดย ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกและอาหารเพียงพอ ทำให้มีนักโทษตายเป็นจำนวนมากจากการเจ็บป่วยและอดอยาก ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตจากสงครามกลางเมืองนี้ มีจำนวนสูงถึงเกือบสี่หมื่นคนดั่งเช่นที่กล่าวมาแล้ว
ผลทางกระบวนการยุติธรรมคือ ประมาณ 70,000 คนถูกตัดสินว่ามีความผิด ในจำนวนนั้น 555 คนมีความผิดถึงโทษประหาร และถูกประหารชีวิตจริงไปถึง 133 คน และศาลก็ได้เปิดเผยที่ศาลว่ามีผู้บริสุทธิ์ถูกคุมขังเช่นกัน
นักโทษส่วนใหญ่พ้นโทษหรือได้รับอภัยโทษภายในสิ้นปี 2461 หลังจากถูกดำเนินคดีการเมือง โดยยังเหลือที่ถูกคุมขัง ณ สิ้นปีจำนวน 6,100 คน และถูกขังอยู่จนถึงสิ้นปี 2462 จำนวน 4,000 คน (3,000 คนได้รับอภัยโทษในเดือนมกราคมปี 2463 และขณะเดียวกันก็มอบสิทธิพลเมืองกลับคืนให้กับนักโทษ 40,000 คน) 500 คน ได้รับการปล่อยตัวในปี 2466 และในปี 2470 นักโทษที่เหลืออยู่ 50 คนสุดท้ายได้รับการนิรโทษกรรมโดยรัฐบาลพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย
ในปี 2516 รัฐบาลฟินแลนด์ได้จ่ายค่าชดเชียให้กับอดีตนักโทษ 11,600 คน ที่ถูกคุมขังในช่วงสงครามกลางเมือง
อนึ่ง หลังจากฝ่ายขาวชนะสงครามก็ได้มีการเชิญเจ้าชาย Frederick Charles จากเยอรมันเพื่อมาเป็นกษัตริย์ปกครองฟินแลนด์ แต่ระยะเวลาทดลองเรียนรู้การเมืองภายใต้กษัตริย์ก็มีระยะเวลาเพียงช่วงสั้นๆ เจ้าชายก็สละราชบัลลังก์ พร้อมกับการประกาศวิถีการเมืองระบอบ “สาธารณรัฐ” ของรัฐสภาฟินแลนด์ในปี 1919 (2462) ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาเดียว ที่มีการเลือกตั้งทุก 4 ปี โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งทุก 6 ปี เป็นประมุขของประเทศ
ในปี 2000 ทางฟินแลนด์ได้มีการแก้กฎหมายลดทอนอำนาจประธานาธิบดีที่เพื่อให้ไม่ซ้ำซ้อนและคานอำนาจกับบทบาทของนายกรัฐมนตรีมากเกินไป
(ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Finnish_Civil_War, andhttp://en.wikipedia.org/wiki/History_of_Finland)
ในปัจจุบัน ศิลปิน นักเขียน นักวิชาการ และผู้คนฟินแลนด์ เริ่มนำเสนอเรื่องราวแห่งสงครามกลางเมืองกันมากขึ้น ทั้งในรูปแบบงานศิลปะ ข้อเขียน วรรณกรรมหรือการแสดง กระนั้น เรื่องราวความเจ็บปวดครั้งที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติฟินแลนด์ ก็ยังถูกเล่าอย่างรวบรัดให้กับคนงานเก็บเบอร์รี่ฟังในวันที่มีการสอนประวัติศาสตร์แรงงานฟินแลนด์ให้กับพวกคนงานที่วิทยาลัยการศึกษาแรงงานเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา – อาจด้วยไม่มีเวลาลงลึกในรายละเอียดก็เป็นได้
บทเรียนของการสู้รบระหว่างประชาชนสองค่ายแนวคิดครั้งนี้ แม้ว่าขบวนการแรงงาน คนฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายแดงที่ชูธงสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์จะพ่ายแพ้ในการสู้รบ แต่พรรคการเมืองสังคมนิยมประชาธิปไตยก็เป็นพรรคแนวหน้า ก็ได้ทำหน้าที่ต่อสู้ทางรัฐสภา เพื่อออกกฎหมายสร้างหลักประกันให้กับคนฟินน์ และดูแลคนงานและคนฟินแลนด์ตั้งแต่เกิดจนตายจนนำฟินแลนด์ขึ้นสู่คำนิยาม “การเมืองระบบรัฐสวัสดิการ” ได้สำเร็จในยุคแห่งความรุ่งโรจน์จนถึงทศวรรษที่ 2520 เมื่อค่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย ถูกค่ายทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ตีโต้และแย่งครองพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้น
ในปัจจุบันคนในประเทศฟินแลนด์ก็เริ่มพูดคุยเรื่องการปกป้องระบบ "รัฐสวัสดิการ" ของพวกเขาจากการถูกทำลายจากวิถีการเมืองทุนเสรีเช่นกัน
ที่มา สงครามปกป้องอภิชนาธิปไตย vs สงครามปกป้องประชาธิปไตย: ในนามต้านนิรโทษกรรมhttp://hirvikatu10.net/timeupthailand/?p=2952&lang=th