18 มิ.ย. 13

แถลงการณ์ "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย" (ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์)


แถลงการณ์ "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย" (ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์)

"สรุปได้ว่า ต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ภาระหน้าที่ของพวกเราคือจะต้องยืนหยัดต่อสู้ คัดค้านการทำรัฐประหารทุกรูปแบบ คัดค้านการใช้อำนาจนอกระบบรัฐธรรมนูญ สนับสนุนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยให้เข้มแข็งสมบูรณ์เพื่อนำไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง มีแต่เช่นนี้เท่านั้น จึงจะทำให้เราผลักดันให้สังมก้าวรุดหน้าต่อไปได้ตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย"

ธง แจ่มศรี
(เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย)
ธันวาคม ๒๕๕๑

ที่มา: http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1064

ภาพประกอบ: http://www.tissiam.com/wp-content/uploads/2012/06/ธง-แจ่มศรี.jpg

ข้อมูลเพิ่มเติม: http://th.wikipedia.org/wiki/ธง_แจ่มศรี
* * *

* * *

Aum Neko said : เราจะเห็นความดัดจริตเมื่อสิ่งที่ถูกสร้างความศักดิ์สิทธิ์ อย่างเศษผ้า ธง ก้อนหิน รูป มหาวิทยาลัย ถูกเรือนร่างของมนุษย์มาใช้ผสมผสานให้เป็นศิลปะ มันสะท้อนความเปราะบางของคุณค่าที่ถูกเสริมแต่งขึ้นมาใหม่ และความที่คนพวกนี้ไร้ซึ่ง "ความอดทนอดกลั้น" ต่อความแตกต่างในสังคม จะเห็นได้แม้กระทั่งคนระดับรองอธิการบดี หรือพวกนักวิชาการ คนโลกสวยๆที่อ้าง normๆๆๆ แต่ไม่เคยรู้จักความเป็นมนุษย์ ต้องส่งไปเรียน TU110 แล้วละคะ

ขอเพิ่มประเด็นจากน้องอั้ม : ประเด็นธงชาติเอามาคลุมตัว มาเป็นเสื้อผ้า ถ่ายภาพแนว sexy เป็นเรื่องปกติมากในสังคมที่เจริญแล้ว ที่ออสเตรเลียนี่ทำกันเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ใช่เฉพาะในโลกตะวันตก แม้แต่ในจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่คอขาดบาดตายเอามาดราม่าคลั่งชาติกันแบบสลิ่มไทยทำกันอยู่ ... เข้าไปอ่าน comment ในภาพนั้นโดนสลิ่มถล่ม ว่าไม่เหมาะบ้าง ถ้าอยากทำแบบนี้ก็ไปอยู่ประเทศอื่น ก็ขำ ... เพราะมันย้อนแย้งสุดๆ อย่างที่เคยเขียนไป ไอ้เรื่องธงชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ โดยเฉพาะธงไตรรงค์นี่เมิงรับมาจากประเทศอื่นเต็มๆ (มันก็คือธง le drapeau bleu blanc rouge ของฝรั่งเศสมาดัดแปลงแบบแทบไม่เปลี่ยนอะไรเลย) ... อีกประการนึงที่สะท้อนออกมา คือ สังคมขวาจัดมักเห็นเรือนร่างของมนุษย์เป็นสิ่งต่ำ เมื่อไปคู่กับธงชาติที่ตัวเองให้คุณค่า จึงเกิดอาการนี้ขึ้น ซึ่งการดูถูกเรือนร่างมนุษย์ มันเป็นเมล็ดพันธุ์ของการไม่เห็นคุณค่ามนุษย์ จึงไม่แปลกใจเลยที่สังคมที่มีอาการนี้ ยังคงมีโทษประหารชีวิต หรือการสั่งปราบปรามฆ่าล้างประชาชน จนเป็นเรื่องปกติ
 

อืม! อีกเรื่องที่ชาวมหานครเมืองเทวดา ดีดดิ้นเป็นกันเอามากคือเรื่องการใช้ธงชาติมาประดับเป็นเสื้อผ้าปิดหำน้อยหำใหญ่ หรือปิดจิ๋มดำจิ๋มขาว

เฮ้อ! กูว่าพวกท่านน่าจะดีใจด้วยซ้ำนะ ที่ยังมีคนคิดเอาธงชาติไทย ซี่งไม่ได้ดูสวยเก๋อะไรเท่าไรเลยมาทำเป็นเครื่องประดับกายเพราะความรักในธงชาติอ่ะ

เพราะคงมีคนจำนวนไม่ใช่น้อยที่ไม่สนใจจะใช้ธงชาติไทยสัญลักษณ์ของเมืองดัดจริต มาทำเครื่องประดับกายอ่ะนะ!

* * *

โชคดีที่สุดในชีวิตนี้ที่ได้เจออัจฉริยะหลายคน โดยเฉพาะคนทำงานเขียนและศิลปะ ที่ไม่คิดเรื่องเอาตัวให้รอด หรือไม่สามารถเอาตัวรอดได้

ได้ทำงานกับเหล่าคนอัจฉริยะ แล้วต่อมสมองอิจฉามันทำงาน และขับเคลื่อนแรงกระตุ้นให้กูให้พยายามปรับปรุงงานของตัวเองบ้าง

แต่ยิ่งอ่านงานเห็นงานของเหล่าเพื่อนฝูงผู้ genius ทั้งหลาย กูก็ยิ่งรู้สึกห่างไกลจากความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นเรื่อยๆ ...

คงต้องอยู่กับความอิจฉากันต่อไป ...ฮา
* * *

ถ้าพระไทยที่ดังๆ ทั้งหลายใช้เงินมากมายที่ได้มาจากญาติโยมไปกับการตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่หรือชุมชนรอบๆ วัดหรือที่ห่างไกล แทนการใช้จ่ายสุรุยสุร่ายไปกับการใช้ชีวิตไฮโซ และสินค้าแบรนด์หรู ศาสนาพุทธแบบไทยๆ ก็คงจะน่ารักและน่านับถือกว่านี้มากมายหลายเท่าทีเดียวล่ะ

ตอนนี้พระไทยจำนวนไม่น้อย ก็เป็นเพียงคนในศาสนาพุทธที่หาเงินจากการเจิมป้าย พรมน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ ต่อดวงชะตา และยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับคนไทยที่ใจไม่เข้มแข็งแต่มีกำลังจ่าย ทั้งหลายเท่านั้นเอง!
* * *

ดีใจที่มีคนศึกษาเรื่องนี้ฮะ เพราะเคยคุยกับน้องๆ ทีมงานเหมือนกันว่าน่าจะมีการเขียนถึงวิถีชีวิตและการกดดันต่างๆ ที่เกย์ กะเทย ทอม ดี้ ในย่านอุตสาหกรรมต้องพบเจอ

อยากอ่านงานวิจัยชิ้นนี้ซะแล้วซิ
---------------

ประชาธรรม "กะเทยและทอมในโรงงานอุตสาหกรรม:ความหลากหลายทางเพศในกระแสทุนนิยม"
วันที่ 18 มิ.ย. 2556

 

วานนี้ 17มิ.ย. 56 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเวทีเสวนาหัวข้อ "ความหลากหลายทางเพศในกระแสทุนนิยม:กะเทยคาบาเรต์โชว์กะเทยและทอมในโรงงานอุตสาหกรรมนำเสนอโดยนายภูริณัฐร์ โชติวรรณ เปิดงานศึกษาเรื่อง"กะเทย(ควาย)ชนบทอีสาน":การสร้างตัวตนทันสมัยและการปรับตัวของกะเทยจากชนบทอีสานที่เข้ามาทำงานโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง" ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 3 (ห้องสีฟ้า) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่