20 มิ.ย. 13

(1)

เมื่อคราวไปกรุงวอร์ซอว์ โปแลนด์ ครั้งแรกเมื่อสักปี 2546 กูจำได้ว่าสัมผัสกับแน่นอกและรู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวกเลย สัมผัสกับพลังแห่งความเจ็บปวดรอบตัว นอนหลับไม่สบายเลยตลอด 2-3 วันที่ประชุมที่วอร์ซอร์ เดินไปทางไหนก็เห็นร่องรอย และอนุสาวรีย์ของการสูญเสียและการเจ็บปวดจากถูกเข่นฆ่าสังหารและทำลายล้าง

ประชากรชาวยิวที่โปแลนด์ 6 ล้านคนถูกนาซีสังหาร (ครึ่งหนึ่งของประชากรโปแลนด์) และบ้านเมืองถูกถล่มราบเป็นหน้ากอง

พอสงครามยุติโปแลนด์ก็ตกอยู่ในการยึดครองของสตาลิน ที่ต้องการให้โปแลนด์เป็นฐานทางทิศตะวันตก สตาลินก็บังคับใช้แรงงานสร้างเมืองและปฏิมากรรมสูงใหญ่ ที่สร้างอยู่บนคราบเลือดและน้ำตา

โดนซ้ำโดนซ้อน จนคนโปแลนด์จำนวนมากลี้ภัยไปทั่วโลก

คนโปแลนด์ที่คุยกันถามว่า คุณรู้ไหมว่ามหานครของโปแลนด์อยู่ที่ไหน เราก็บอกว่าวอร์ซอร์ไง เขาบอกไม่ใช่ อยู่ชิคาโก ... คนโปแลนด์ไปตั้งรกรากอยู่ที่นั่นหลายล้านคน

เมื่อวานคุยกับน้องสาวที่รักที่ไปเที่ยวที่โปร์แลนด์ ณ ขณะนี้ เช่นเดียวกับที่กูสัมผัส เธอและแฟนบอกว่ารู้สึก เหมือนกับสัมผัสกับพลังความเจ็บปวดมากมายรอบตัว ไม่สามารถสนุกกับการท่องเที่ยวได้

ปัจจบุันโปแลนด์ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การฟื้นเมืองก็ยังทำต่อไปแม้กำแพงเบอร์ลินจะทลายไปตั้งแต่ปี 2532 แล้วก็ตาม

ขณะนี้โปแลนด์ พัฒนาอุตเป็นแหล่งสาหกรรมเกษตรป้อนยุโรป มีนายทุนฮอลแลนด์และเยอรมันเข้าไปลงทุนด้านฟาร์มเกษตรเยอะ และก็มีการพาแรงงานไทยไปปล่อยทำงานที่เมืองต่างๆ ตามชายแดนโปแลนด์และเยอรมันจนมีเรื่องให้ร้องเรียนและแจ้งจับนายหน้ากันที่เมืองไทย

การได้ไปเยือนเมืองต่างๆ ที่เจ็บปวดจากสภาวะสงคราม ไม่ว่าจะที่ยุโรป กัมพูชา เวียดนาม หรือปาเลสไตน์ ทำให้ไม่สามารถที่จะปล่อยเฉยไม่ทักท้วงเวลาเห็นคนไทยไม่อ่อนไหวกับสัญลักษณ์นาซี สัญลักษณ์ดาวแดง และไม่ใยดีกับความตายที่ถูกพรากด้วยกองกำลังทหารได้จริงๆ นั่นล่ะ

* * *
(2)




This version of Bella ciao is very touching and powerful one.
Been listening to this version for several days now!

นี่เป็นเพลงเพื่อชีวิตสากลที่ popular มาก เป็นเพลงอิตาเลียนพูดถึงขบวนการประชาชนต้านนาซีที่อิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะที่ซิซิลี และถูกทหารนาซีสังหารอย่างเหี้ยมโหด ทั้งมีการบังคับคนเข้าไปในโบสถ์แล้วโยนะรเบิดเข้าไปยังโบสถ์สังหารทุกคน

โดยบอกทหารเยอรมันหนึ่งกองร้อยสังหารชาวบ้านไป 100 คน

มันเป็นเพลงปฏิวัติที่เศร้าและสะเทือนอารมณ์มากๆ เพลงนี้เป็นเพลงที่เราจะเห็นร้องกันในทุกการประท้วงที่ยุโรปในปัจจุบันฮะ


* * *
(3)

Guantanamera is one of my favorite song of all time.
I like this version that sing by Pete Seeger as well.

เพลงเพื่อชีวิตสากลที่ชอบมากที่สุดเพลงหนึ่ง
มอบให้ทุกคนฮะ

* * * 

(4)
อู่วู๊ 

ค้นและตีแผ่ความดัดจริตด้านจริยธรรมแบบไทยๆ ปัจจุบันกันต่อไป

ที่มา  Voices of Siam

"ขายเซ็กส์" ทำลายเพลงลูกทุ่งจริงเหรอ? #ตอแหลแลนด์

จากกระแสด่าทอใบเตย อาร์สยามเจ้าของฉายา “สั้นเสมอหู” ว่าทำลาย "ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม" ของเพลงลูกทุ่ง [1] มันได้สะท้อนความ "ตอแหล" อีกครั้งของสังคมไทย ที่พยายามปฎิเสธความจริงที่ว่าเพลงลูกทุ่งได้หากินกับเรื่อง "เซ็กส์" มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับสองแง่สองงามแบบเพลง “หมากัด” ของเอกชัย ศรีวิชัย หรือระดับโจ่งครึ่มแบบ หน้าปกแผ่นเสียงในอดีต เช่น สาวอยู่บ้านใด๋ โดย ปอง ปรีดา [2]

นอกจากนั้น Admin ออกจะแปลกใจนิดหน่อยว่าการขาย "เซ็กส์" ดังกล่าวเป็นการทำลายเพลงลูกทุ่งจริงหรือ? เมื่อย้อนกลับไปตรวจสอบดูหากการขายเซ็กส์ทำลายเพลงลูกทุ่งจริง ป่านนี้วงการเพลงลูกทุ่งคงต้องพินาศย่อยยับสาบสูญไปจนสิ้นแล้ว เพราะวงการเพลงลูกทุ่งก็เหมือนวงการบันเทิงชนิดอื่นๆ ที่มีเซ็กส์ปะปนมาอยู่ด้วยเสมอ ดูจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว

ความจริงระคายหูมันอาจมีอยู่ว่าวงการบันเทิงที่เป็นอุตสาหกรรมชนิดหนึ่งมานานแล้ว ไม่ได้อยู่รอดด้วย “ศีลธรรมจริยธรรม” หากแต่อยู่รอดด้วยการมี “ผู้ซื้อ” สินค้าและบริการความบันเทิงนั่นเอง เพลงลูกทุ่งไม่ใช่เป็นเพียง “การละเล่นพื้นบ้าน” อย่างที่ใครอยากให้เป็น แต่มันเป็นอุตสาหกรรมบันเทิงมาตั้งนานแล้ว

บางทีที่ใบเตย “สั้นเสมอหู” นี่เอง อาจเป็นการ “รักษาอุตสาหกรรมบันเทิง” ของเพลงลูกทุ่ง ให้ยังมีคนฟัง คนไปดูคอนเสิร์ตของเธอต่อไปก็ได้ และ แอดมินเชื่อว่า เมื่อใครๆ “ห่วงใยถึงความอยู่รอดของลูกทุ่ง” ไม่มีใครทราบเรื่องนี้ดีเท่ากับนักธุรกิจในวงการเขาหรอกครับว่า “ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอด”

ครับ เมื่อแยก “ความอยู่รอด” ออกจาก “ศีลธรรมอันดีงาม” แยก “อุตสาหกรรมเพลงลูกทุ่ง” ออกจาก “ศิลปะการละเล่นพื้นบ้าน” (ซึ่งก็ไม่แน่อีกว่าไอ้การละเล่นพื้นบ้านนั้นจะ “เรียบร้อยดีงาม” อย่างที่ใครๆ เชื่อหรือไม่) เราอาจจะเห็นประเด็น “สั้นเสมอหู” อย่างสมเหตุสมผลและอยู่กับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

[1] http://fb.kapook.com/musicstation-64829.html

[2] http://th.wikipedia.org/wiki/ปอง_ปรีดา

เครดิตภาพประกอบ Tone Tipayanon