18 มค.13

ไม่ว่ามึงจะหญิงหรือชาย หรือเกย์ กระเทย เลส ทอม ดี้
ไม่ว่ามึงจะมีแฟนต่างเพศ หรือเพศเดียวกัน หรือไม่มีแฟน หรือมีแฟนมาแล้วหลายคน

ไม่ว่ามึงจะนับถือพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู นับถือธรรมชาติ หรือไม่นับถือศาสนาใด

ไม่ว่ามึงจะเป็นคนไทย พม่า มาเลย์ อินเดีย หรืออังกฤษ

ไม่ว่ามึงจะเป็นดร. หรือเป็นเกษตรกร

ไม่ว่ามึงจะรวยหรือจน

ถ้ามึงเคารพความเป็นมนุษย์ของกู ของคนทุกคนว่ามีศักดิ์และศรีเท่ากันกูเป็นเพื่อนมึงได้ และมึงเป็นเพื่อนกูได้ถ้ามึงต้องการ
* * *

ต้องขอบคุณโอกาสทั้งในมหาวิทยาลัยและในการทำงาน

ที่ทำให้การเรียน การทำงาน ของกูได้พบปะพูดคุยกับคนทุกกลุ่ม ทุกอายุ ทุกศาสนา หลายชาติพันธ์ุ หลายภาษา ในหลายหมู่บ้าน หลายโรงงาน หลายท้องถนนและหลายห้องประชุม ในหลายประเทศ มาตั้งแต่อายุ 20 มั๊ง

จึงทำให้กูไม่ "มึงไทยมาก" และไม่รู้สึกกลัวเพื่อนมนุษย์ ไม่รู้สึกว่ากูมีชนชั้นวรรณะสูงกว่าคนอื่นหรือต่ำกว่าคนอื่น

แต่กูก็ไม่นำตัวกูไปอยู่ในแวดวงคนมีเงินมากๆ หรือคุยกันแต่เรื่องหุ้น เรื่องหมอดู เพราะมันทั้งเสียเวลาและอาจจะทำให้รู้สึกต่ำต้อยได้ในบางครั้ง ในความ "ปอนแต่เท่ห์" ได้เสมอต้นเสมอปลายของกู...
* * *

อยู่ในช่วงดูหนังที่สร้างโดย BBC อยู่ และชวนดูหนังเรื่องนี้

ดูเรื่อง Made in Dagenham เกี่ยวกับการลุกขึ้นสไตรค์ของคนงานเย็บเบาะรถยนต์ฟอร์ดเพื่อเรียกร้องค่าจ้างเท่ากับชายในปี 2511

การต่อสู้ของพวกเธอถือเป็นการลุกขึ้นสู้เรียกร้องเรื่องค่าจ้างเท่าเทียมครั้งแรกในโลก ท่ามกลางวิถีสหภาพชายเป็นใหญ่ ที่ไม่เต็มใจช่วยเหลือพวกเธอและคิดว่าหญิงชายไม่ควรได้สิทธิ์ค่าจ้างเท่ากัน

การต่อสู้ของคนงานทำเบาะรถยนต์ฟอร์ดทำให้กระบวนการผลิตของฟอร์ดทั้งโลกได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีเบาะรถยนต์ ฟอร์ดถึงขนาดขู่จะเลิกจ้างคนงานฟอร์ดทั้งหมดในอังกฤษ 40,000 คน และปิดหนี

ด้วยการยืนหยัดสู้อย่างเป็นเอกภาพ การต่อสู้ของพวกเธอกลายเป็นประเด็นการเมือง มีแรงงานหญิงจากส่วนอื่นๆ ร่วมสไตรค์ด้วยจึงเป็นที่สนใจของสังคม และอยู่ในการรายงานข่าวตลอดเวลา

และด้วยรัฐมนตรีหญิงจากพรรคแรงงานที่ฉลาด เธอก็ช่วยดันต่อข้องเรียกร้องของคนงานหญิงไปยังฟอร์ด และนำสู่ชัยชนะมาสู่พวกคนงานหญิงเย็บเบาะรถยนต์ในที่สุด ด้วยข้อตกลงกลับเข้าไปทำงานโดยได้รับเงินเดือนขึ้นมาอยู่ในระดับ 92% ของเงินเดือนที่คนงานชายจในฟอร์ดได้รับ

และคำสัญญาของรัฐบาลที่จะออกกฎหมายค่าแรงเท่าเทียม ซึ่งก็ทำจริงในอีก 2 ปีต่อมา (ในปี 2513) และส่งผลให้ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกออกกฎหมายเรื่องค่าแรงเท่าเทียม(หญิง-ชาย) ตามมาในเวลาไล่เลี่ยกัน

ดูเรื่องนี้แล้วนึกถึงนักสู้หญิงทั้งหลาย อย่ากลัวที่จะสู้เพื่อสิทธิเพราะคิดว่าเราเป็นแค่ "ผู้หญิง"