13 พ.ค. 13 (7)


หนึ่งในภาพที่เจอวันนี้

นี่เป็นเอกสารจากคนงานที่ถูกหลอกไปทำงานที่แคนาดา ถ่ายเก็บไว้ตอนช่วงลงพื้นที่เมื่อปี 2551 และให้คำแนะนำครอบครัวนี้ในการแก้ไขปัญหา

ดูข้อความนี้ก็อยากจะบอกว่าไม่ใช่สถานฑุตและกระทรวงไม่รู้ข้อความเหล่านี้ ต่างก็รู้ดี

แต่เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานจัดการกับปัญหาเรื่องการถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศด้วยทัศนคติ "ตอนทับแล้วไม่ร้อง ตอนท้องแล้วจะมาให้รับ" มองมันเป็นเรื่อง "การสมยอม" และมักจะบีบให้คนงานที่ฟ้องร้องรับเงินค่าชดเชยตามแต่ที่บริษัทเอเยนต์จะเสนอ โดยไม่พยายามจะมองในแง่ความเสียหายทางตัวเงินกับครอบครัวเหล่านี้ และโดยไม่พยายามส่งเสริมให้คนงานฟ้องร้องเอาผิดกับเอเยนต์ทางคดีอาญา

แต่ละปีชาวบ้านชนบทไทยโดยเฉพาะจากภาคอีสาน ต้องเสียเงินไปกับค่านายหน้า กับการพยายามไปหาเงินที่เมืองนอกรวมกันปีละหลายพันล้านบาท - ทั้งเสียเงินพันเสียเงินหมื่นแล้วไม่ได้ไป หรือเสียเงินแสนแล้วไปทำงานได้ไม่กี่เดือนก็ต้องกลับ หรือไปทำงานแล้วได้ทำงานไม่ตรงสัญญาและค่าจ้างต่ำกว่าสัญญา รวมทั้งไม่คาดคิดว่าค่าใช้จ่ายที่ต่างแดนจะสูงมากจนไม่มีเงินเหลือเก็บดังที่ตั้งใจ ฯลฯ

กระทรวงแรงงานนับตั้งแต่ช่วงปี 2520 จนถึงบัดนี้ก็ยังอยู่กับนโยบาย "ส่งออกแรงงานไทย" ที่ไม่เคยรับผิดชอบได้ และไม่เคยจัดการกับระบบ "ค่าหัวคิวโหด" ได้อย่างจริงจัง

ใครมีญาตที่จะดันทุรังจะไปเมืองนอกให้ได้ เสียเท่าไรก็จะเสีย แบบดุ่มๆ ดื้อๆ ไม่สนใจจะฟังคำทักท้วงหรือหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ เชื่อใจแต่เอเยนต์ที่กล่อมอยู่ทุกวัน ก็ฝากเอกสารชิ้นนี้ไปให้ได้ดูกันด้วยนะฮะ

Junya Lek Yimprasert เอกสารเหล่านี้เก็บไว้เพื่อประกอบหนังสือและสารคดีเรื่องการค้าแรงงานไทยไปต่างประเทศ เป็นงานสำคัญในชีวิตที่ถูกผลักทิ้งไว้ก่อนเพราะการเมือง 2553 
Chutimeow Suksabai หาคนพูดเรื่องเเรงงานไทยโดนหลอกไม่ค่อยได้ ตอนนี้มีเเต่เเรงงานต่างชาติโดน 
Junya Lek Yimprasert งานเรื่องแรงงานไทยไปต่างประเทศไม่ค่อยมีคนทำ เพราะมันอันตรายมาก ถูกขู่ฆ่ากันง่ายๆ และทัศนคติกระทรวงไม่เปิดรับองค์กรที่ทำงานเรื่องคนงานไทยถูกหลอกไปเมืองนอก เพราะคิดว่าขัดขวางนโยบายเศรษฐกิจของชาติ ... แหล่งทุนก็ไม่ให้ทุน ลงพื้นที่แต่ละครั้งนี้หมุนเงินโปรเจคโน้นโปรเจคนี้กันมั่วไปหมด ตอนที่พี่อยู่ TLC ไม่มีเงินจริงๆ และการลงพื้นที่ต้องใช้เงินเยอะพอสมควรและใช้เวลาด้วย รอหนังสือพี่แล้วกันไม่รู้จะเสร็จเมื่อไร